การเรียนรู้กฎหมาย

บล๊อกเกอร์จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาและการปฏิบัติในการทดลองสร้างบล๊อกเกอร์ในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายในสังคมไทย

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงสร้างทางสังคม

โครงสร้างทางสังคม  หมายถึง  ส่วนต่าง ๆ  ที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์  ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุก ๆ  สังคม  แม้ว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตาม
 ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
          โดยทั่วไปโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไป  มีลักษณะที่สำคัญ  ดังนี้
          1. มีการรวมกลุ่มของคนในสังคม  ซึ่งแต่ละกลุ่มที่รวมกันต่างมีหน้าที่รับผิดชอบและประสิทธิภาพในการ       ทำงานตามที่กลุ่มได้กำหนดเป้าหมายไว้
          2. มีแนวทางในการปฏิบัติอย่างเหมาะสมหรือมีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนเป็นแนวทางให้ยึดถือร่วมกัน โดยยึดหลักประโยชน์สูงสุดของสังคม
          3. มีจุดหมายในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ  ที่ดีและมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับสังคมนั้น
          4. มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้  กล่าวคือ  โครงสร้างของสังคมจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของการเพิ่มขึ้นหรือลดลง  ในหลายรูปแบบเช่นจำนวนคนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการเคลื่อนย้ายประชากรในสังคม หรือ รูปแบบของความสัมพันธ์ของบุคคลภายในสังคมอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานภาพที่ปรับเปลี่ยนไปหรือแม้แต่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ  ภายในสังคม  เป็นต้น


ที่มา: http://nucha.chs.ac.th/1.2.htm

1 ความคิดเห็น:

  1. มองภูมิทัศน์และการเมืองผ่านการพัฒนาชนบทไทย ถึงความจริงในม่านฝุ่นสะท้อนภาคประชาสังคมช่วงเปลี่ยนผ่าน

    ตอบลบ