สังคมกับกฎหมาย ( Social laws )
การเรียนรู้กฎหมาย
บล๊อกเกอร์จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาและการปฏิบัติในการทดลองสร้างบล๊อกเกอร์ในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายในสังคมไทย
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554
พระบิดาแห่งกฎหมายไทย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็น พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจองมารดาตลับ ทรงประสูตเมื่อ วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ .2417
เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทย ในสำนัก ของพระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกูร ) และพระยาโอวาทวรกิจ ต่อมา ทรงศึกษาต่อที่ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และได้ทรงศึกษา ชั้นมัธยม ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ได้ทรงศึกษา วิชากฎหมาย ณ สำนักโครสต์ เซิร์ซ มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด จนสำเร็จ ได้ปริญญาตรี เกียรตินิยม สาขากฎหมาย
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้เสด็จกลับ ประเทศไทย และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2439 ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น สภานายกพิเศษ พิจารณาแก้ไข ธรรมเนียม ศาลยุติธรรม สำหรับหัวเมือง จนสำเร็จ ทั่วพระราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังทรง จัดวางระเบียบ ศาลยุติธรรม ของประเทศ จากระบบเก่า มาสู่ระบบใหม่ ทรงแก้ บทกฎหมาย ว่าด้วย การพิจารณาความแพ่ง และอาญาเสียใหม่ อันส่งผลให้ ราชการ ศาลยุติธรรม ทัดเทียมกับ นานาอารยประเทศ และมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2440 พระองค์ทรงเป็น ประธานคณะกรรมการ การตรวจพระราชกำหนด บทอัยการที่ใช้อยู่ และจัดวางระเบียบไว้ เป็นบรรทัดฐาน พระองค์ทรงมี บทบาทอย่างมาก ในการตรวจชำระ บทอัยการครั้งนี้ โดยเฉพาะ การจัดทำ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายไทย ฉบับแรก สำเร็จใน พ.ศ.2451 โดยใช้เวลาถึง 11 ปี ประเทศไทย ได้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนี้มาเป็นเวลานานถึง 49 ปี ซึ่งถือได้ว่าเ ป็นต้นแบบของ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประกาศให้ใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500
เมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงดำริว่า การที่จะให้ ราชการฝ่าย การศาลยุติธรรม ดำเนินไปได้ด้วยดีนั้น จำเป็นต้อง จัดให้มี ผู้รู้กฎหมายมากขึ้น และการที่จะจัดเช่นนั้นได้ดีที่สุด คือ เปิดให้มีการสอน ชุดวิชากฎหมายขึ้น ให้เป็นการแพร่หลาย จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เป็นการเปิดการสอน กฎหมายครั้งแรก พระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนด้วยพระองค์เอง
ทรงห่วงใย นักเรียนกฎหมาย และปรารถนาที่จะ ให้ใช้วิชากฎหมาย ในทางปฏิบัติจริง ๆ จึงทรงสนับสนุน ในการว่าความ นักเรียนคนใด ไม่มีความจะว่า ก็ทรงให้ว่าความแทนผู้ต้องหา ในเรือนจำ นอกจาก การสอนประจำวันแล้ว พระองค์ยังทรง แต่งตำราอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงรวบรวม กฎหมายตราสามดวง อันเป็นกฎหมายเก่า ที่ใช้อยู่ในเวลานั้น รวมทั้ง พระราชบัญญัติ บางฉบับ และคำพิพากษาฎีกาบางเรื่อง โดยจัดพิมพ์ขึ้น เป็นสมุดเล่มใหญ่ แบ่งเป็นหมวดหมู่ มีคำอธิบาย และสารบัญละเอียด กฎหมายตราสามดวง ที่ทรงรวบรวมขึ้นนั้นให้ชื่อว่า กฎหมายราชบุรี ซึ่งเป็นรากฐาน ในการศึกษากฎหมายมาหลายทศวรรษ
ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2440 ทรงเปิดให้มีการสอบไล่เป็นเนติบัณฑิต ผู้สำเร็จเนติบัณฑิต เหล่านี้ ได้เข้ารับราชการ เป็นกำลังของกระทรวงยุติธรรมหลายท่านด้วยกัน บางท่านเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนกฎหมาย การตั้งโรงเรียนกฎหมาย และพระนิพนธ์ทางกฎหมาย ของพระองค์นั้นนับว่าเป็นรากฐาน ในการก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ
ในปี พ.ศ. 2453 ขณะยังทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้ทรงขอลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงประชวรอยู่เสมอ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ลาออกในปีนั้นเอง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้ทรงมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และในปีนั้นเอง ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ในระหว่างที่ทรงเป็น เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงจัดการแก้ไข และวางระเบียบการ ในกระทรวงให้ดียิ่งขึ้น คือ ทรงแก้ไข ระเบียบการของหอทะเบียนที่ดินทั้งหลาย ทั่วพระราชอาณาจักร โดยทรงจัดให้มี การประชุม นายทะเบียนเป็นครั้งคราว ทรงพัฒนาการออกโฉนกที่ดิน ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มี และทรงทำนุบำรุงการเกษตร โดยเฉพาะเรื่อง การชลประทาน และการทดน้ำ นับว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติราชการสำคัญ อันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างยิ่ง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยวัณโรคที่พระวักกะ (ไต) จึงได้ทรง กราบถวายบังคมลา ไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 ได้ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุเพียง 47 พรรษา
จากการที่ได้ทรง ทุ่มเทพพระวรกาย ศึกษาวิชาการทางกฎหมาย และทรงทำให้ ระบบกฎหมาย และศาลยุติธรรม ของประเทศไทยเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับอนารยประเทศทั้งปวงนี้เอง ทำให้ประชาชน ต่างขนานพระนามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และกำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันรพี" เพื่อให้ บรรดานักกฎหมาย ได้มีโอกาส แสดงความระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการ วางพวงมาลา หน้าพระรูป และบำเพ็ญกุศลร่วมกัน ตลอดจน การจัดกิจกรรม ทางกฎหมาย ในหลายรูปแบบ เพื่อเผยแพร่ วิชาการกฎหมาย ให้กว้างขวางสู่ประชาชน สมดังพระประสงค์ ที่ต้องการให้ นักกฎหมายมีบทบาท ในการพัฒนาประเทศ โดยพัฒนากฎหมาย ให้ก้าวหน้า เหมาะสมแก่สภาพสังคม ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และใช้กฏหมาย เพื่อให้เกิด ความยุติธรรมแก่ประชาชน
ที่มา:http://www.thailandroad.com/chaninat/rapree.htm
กฎหมายนิติกรรมสัญญา
นิติกรรมและสัญญา
ปัจจุบันความจำเป็นของบุคคลต่าง ๆ ในการก่อนิติสัมพันธ์มีความแพร่หลายมากขึ้น โดยบุคคลนั้นอาจเกี่ยวพันในฐานะของผู้ให้สัญญาหรือผู้รับสัญญา ซึ่งแล้วแต่สถานะ เจตนารมย์ หรือวัตถุประสงค์ ในการทำสัญญานั้น ซึ่งก่อนที่จะมีการก่อนิติสัมพันธ์นั้น ควรทราบความหมายประเภท องค์ประกอบต่าง ๆ ในการก่อนิติสัมพันธ์ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป
นิติกรรม
มีความหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ (ป.พ.พ.ม. 149)
กล่าวโดยย่อ นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมาย ที่จะเกิดขึ้นเพื่อการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้เงิน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรม เป็นต้น
ประเภทของนิติกรรม จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและ มีผลตามกฎหมาย ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้ เช่น การก่อตั้งมูลนิธิ คำมั่นโฆษณาจะให้รางวัล การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย การทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง เป็นต้น
นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างต้องตกลงยินยอมระหว่างกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น หรือเรียกกันว่า สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาขายฝาก จำนอง จำนำ เป็นต้น
ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา
โดยหลักทั่วไป บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา แต่มีข้อยกเว้น คือ บุคคลบางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องรับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรม (ป.พ.พ.ม. 21) เว้นแต่นิติกรรมที่ได้มาซึ่งสิทธิโดยสิ้นเชิงหรือเพื่อให้หลุดพ้นหน้าที่ หรือการที่ต้องทำเองเฉพาะตัวหรือกิจกรรมที่เหมาะสมแก่ฐานานุรูป และจำเป็นในการเลี้ยงชีพเหล่านี้ ผู้เยาว์ทำด้วยตนเองได้ (ป.พ.พ.ม.22,23,24) ส่วนคนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยศาล สำหรับคนเสมือนไร้ความสามารถทำกิจการเองได้ทุกอย่างเว้นแต่กิจกรรมบางอย่างตาม ป.พ.พ.ม. 34 จะทำได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ เช่น สัญญา ซื้อขายที่ดิน เป็นต้น ขณะที่บุคคลล้มละลายจะทำนิติกรรมใดไม่ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน
ผู้มีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา ปกติแล้ว บุคคลทุกคนต่างมีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา แต่ยังมีบุคคลบางประเภทที่เป็นผู้หย่อนความสามารถ กฎหมายจึงต้องเข้าดูแลคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ ไม่ให้ได้รับความเสียหายในการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าทำนิติกรรมของผู้นั้น
ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา ประกอบด้วย
(1) ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่ยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ การทำนิติกรรมสัญญาใด ๆ ของผู้เยาว์ กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บิดามารดาหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณีเสียก่อน การทำนิติกรรมสัญญาใดที่ปราศจากความยินยอมกฎหมายเรียกว่าเป็นโมฆียะ ซึ่งอาจถูก บอกล้างภายหลังได้ต่อเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือได้สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงพ้นจากภาวะ เป็นผู้เยาว์และเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ จึงมีความสามารถใช้สิทธิในการทำนิติกรรมสัญญาเองได้
(2) คนวิกลจริต คือ บุคคลที่มีสมองพิการหรือว่าจิตใจไม่ปกติ
(3) คนไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริตที่ศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
(4) คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลผู้ใดไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ หรือจัดการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เพราะการพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ ติดสุรายาเมา มีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น
(5) ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายตามกฎหมายล้มละลายเมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้หย่อนความสามารถ กล่าวคือ ลูกหนี้จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน
หรือกิจการของตนไม่ได้ เว้นแต่จะกระทำได้ตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหน้าที่ และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่มีอำนาจในการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ และการกระทำการอื่น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น การฟ้องร้อง การต่อสู้คดี การประนีประนอม เป็นต้น
(6) สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน จึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกันในการทำสัญญาผูกพันสินสมรส
กฎหมายอาญา
กฎหมายอาญา (อังกฤษ: Criminal law) เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิด
หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อยพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่านั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สภาพบังคับของกฎหมายอาญา
โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2
หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อยพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่านั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สภาพบังคับของกฎหมายอาญา
โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2
กฎหมายมหาชน
หลักกฎหมายมหาชน เป็นการศึกษาถึงความหมายและพัฒนาการของกฎหมายมหาชน แนวความคิดพื้นฐาน ลักษณะเฉพาะและบทบาทความสำคัญของกฎหมายมหาชน ความหมาย องค์ประกอบและรูปแบบของรัฐ ความเป็นนิติบุคคล และสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ การปกครองโดยกฎหมาย บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน และนิติวิธีของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชนมิได้เน้นที่ตัวบทกฎหมาย แต่เน้นที่การศึกษาปรัชญา แนวความคิด และทฤษฎีต่าง ๆ อันเป็นที่มาของหลักกฎหมายมหาชน และยังมีความเกี่ยวโยงอยู่กับแนวทางของวิชารัฐศาสตร์อยู่อีกด้วย ซึ่งนิติปรัชญาและนิติวิธีของกฎหมายมหาชนนั้นมีหลักการ แนวความคิด และวิธีวิเคราะห์ปัญหาที่แตกต่างกับกฎหมายเอกชน
ความหมายของกฎหมายมหาชน
อัลเปียน (ULPIAN) นักปราชญ์สมัยโรมันยุคคลาสสิก ได้อธิบายไว้ว่า "กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐโรมัน ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน"
ศาสตราจารย์ Maurice DUVERGER (ศ. มอริส ดูแวร์เช่) แห่งมหาวิทยาลัยปารีส ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับสถานะและอำนาจของผู้ปกครอง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง
กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้อยู่ใต้ปกครองด้วยกัน"
ศาสตราจารย์ Andre de LAUBADERE (ศ. อองเดร เดอ โรมาแดร์) ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่วางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคล (Personnes Publiques) อันได้แก่ รัฐ องค์การปกครอง และรวมตลอดถึงนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนอื่น ๆ (เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล) กฎหมายมหาชนจะวางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคลในด้านองค์กร การดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลด้วยกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลและเอกชน"
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือ ในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร
กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ในฐานะที่เท่าเทียมกัน"
ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชนนั้น อาจให้บทวิเคราะห์ศัพท์ดังนี้คือ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอันเกิดขึ้นเนื่องจาก การที่ประเทศแสดงตัวเป็นผู้บังคับปกครองในพระราชอาณาจักร โดยรักษาความสงบเรียบร้อย ระเบียบ การเก็บภาษีอากร และการที่ประเทศแสดงตัวนอกพระราชอาณาจักรเป็นผู้ทำการเกี่ยวพันกับประเทศอื่น"
รศ. ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง ได้อธิบายความหมายของกฎหมายมหาชนไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ "สถานะและอำนาจ" ของรัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน"
จากคำอธิบายของศาสตราจารย์และนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ จึงสามารถสรุปได้ว่า "กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับการปกครอง หรือเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ"
ข้อสังเกต จากความหมายของกฎหมายมหาชนที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะไม่มีเรื่อง "การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน" หรือ "การจัดทำบริการสาธารณะ" เข้ามาเกี่ยวข้องเลย เนื่องจากว่า "การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน"
นั้นเป็นหลักการทางทฤษฎีอย่างหนึ่งในรัฐประชาธิปไตยเสรีนิยม ส่วน "การจัดทำบริการสาธารณะ" ก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์ของกฎหมายปกครอง และกฎหมายปกครองก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดากฎหมายมหาชนทั้งหลายเท่านั้น ดังนั้นการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนว่า "เป็นกฎหมายที่จะต้องสามารถควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้โดยประชาชน" หรือ "เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ" จึงเป็นการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนที่ถูกต้องแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเป็นความหมายที่ไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายมหาชนประเภทอื่นที่มิใช่กฎหมายปกครอง อาทิเช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญและยังไม่เป็นความหมายสากลอีกด้วย เนื่องจากว่าไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายมหาชนในรัฐที่ปกครองด้วยระบอบการปกครองอื่นนอกเหนือไปจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม ซึ่งรัฐอื่น ๆ เหล่านั้นมิได้มีการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชนแต่
ที่มา:http://www.sheetram.com/lw101.asp
กฎหมายมหาชนมิได้เน้นที่ตัวบทกฎหมาย แต่เน้นที่การศึกษาปรัชญา แนวความคิด และทฤษฎีต่าง ๆ อันเป็นที่มาของหลักกฎหมายมหาชน และยังมีความเกี่ยวโยงอยู่กับแนวทางของวิชารัฐศาสตร์อยู่อีกด้วย ซึ่งนิติปรัชญาและนิติวิธีของกฎหมายมหาชนนั้นมีหลักการ แนวความคิด และวิธีวิเคราะห์ปัญหาที่แตกต่างกับกฎหมายเอกชน
ความหมายของกฎหมายมหาชน
อัลเปียน (ULPIAN) นักปราชญ์สมัยโรมันยุคคลาสสิก ได้อธิบายไว้ว่า "กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐโรมัน ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน"
ศาสตราจารย์ Maurice DUVERGER (ศ. มอริส ดูแวร์เช่) แห่งมหาวิทยาลัยปารีส ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับสถานะและอำนาจของผู้ปกครอง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง
กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้อยู่ใต้ปกครองด้วยกัน"
ศาสตราจารย์ Andre de LAUBADERE (ศ. อองเดร เดอ โรมาแดร์) ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่วางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคล (Personnes Publiques) อันได้แก่ รัฐ องค์การปกครอง และรวมตลอดถึงนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนอื่น ๆ (เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล) กฎหมายมหาชนจะวางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคลในด้านองค์กร การดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลด้วยกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลและเอกชน"
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือ ในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร
กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ในฐานะที่เท่าเทียมกัน"
ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชนนั้น อาจให้บทวิเคราะห์ศัพท์ดังนี้คือ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอันเกิดขึ้นเนื่องจาก การที่ประเทศแสดงตัวเป็นผู้บังคับปกครองในพระราชอาณาจักร โดยรักษาความสงบเรียบร้อย ระเบียบ การเก็บภาษีอากร และการที่ประเทศแสดงตัวนอกพระราชอาณาจักรเป็นผู้ทำการเกี่ยวพันกับประเทศอื่น"
รศ. ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง ได้อธิบายความหมายของกฎหมายมหาชนไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ "สถานะและอำนาจ" ของรัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน"
จากคำอธิบายของศาสตราจารย์และนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ จึงสามารถสรุปได้ว่า "กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับการปกครอง หรือเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ"
ข้อสังเกต จากความหมายของกฎหมายมหาชนที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะไม่มีเรื่อง "การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน" หรือ "การจัดทำบริการสาธารณะ" เข้ามาเกี่ยวข้องเลย เนื่องจากว่า "การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน"
นั้นเป็นหลักการทางทฤษฎีอย่างหนึ่งในรัฐประชาธิปไตยเสรีนิยม ส่วน "การจัดทำบริการสาธารณะ" ก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์ของกฎหมายปกครอง และกฎหมายปกครองก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดากฎหมายมหาชนทั้งหลายเท่านั้น ดังนั้นการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนว่า "เป็นกฎหมายที่จะต้องสามารถควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้โดยประชาชน" หรือ "เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ" จึงเป็นการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนที่ถูกต้องแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเป็นความหมายที่ไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายมหาชนประเภทอื่นที่มิใช่กฎหมายปกครอง อาทิเช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญและยังไม่เป็นความหมายสากลอีกด้วย เนื่องจากว่าไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายมหาชนในรัฐที่ปกครองด้วยระบอบการปกครองอื่นนอกเหนือไปจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม ซึ่งรัฐอื่น ๆ เหล่านั้นมิได้มีการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชนแต่
ที่มา:http://www.sheetram.com/lw101.asp
กฎหมายลักษณะทรัพย์
กฎหมายลักษณะทรัพย์
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง ซึ่งได้แก่สิ่งซึ่งมองเห็นได้ด้วยตา จับต้องสัมผัสได้ [1] เช่น สมุด ปากกา โต๊ะ วัว รถยนต์ เป็นต้น
ทรัพย์สิน หมายถึง วัตถุมีรูปร่างและวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีค่าและอาจถือเอาได้
สังเกต คำว่า “ทรัพย์สิน” มีความหมายกว้างกว่าคำว่า “ทรัพย์”
สรุปทรัพย์สิน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.เป็นวัตถุมีรูปร่าง(คือทรัพย์)หรือเป็นวัตถุไม่มีรูปร่างก็ได้(เช่น ลิขสิทธิ์ หุ้น เช็ค โฉนด->เป็นสิ่งแสดงกรรมสิทธิ์
ไม่ได้หมายถึงใบกระดาษ)
2.มีราคา คือสิ่งนั้นมีมูลค่าในตัวของมันเอง ไม่จำเป็นต้องมีราคาที่ซื้อขายในท้องตลาด[2] เช่นจดหมายคนรักที่ติดต่อกัน แสตมป์ที่ใช้แล้ว แต่ผู้ใช้สะสมเอาไว้ ก้อนหินที่ระลึกจากยอดเขาเอเวอเรสต์ เป็นต้น
3.ถือเอาได้ คือ สามารถเข้าครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ เป็นเจ้าของได้(พระจันทร์ ดาว จึงไม่ใช่ทรัพย์สิน)
ทรัพย์ตามกฎหมาย จำแนกเป็น 2 ประเภท
1.อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน มีลักษณะเป็นการถาวร ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน อีกทั้งยังหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิเกี่ยวกับที่ดินด้วย
-ที่ดิน หมายถึง พื้นแผ่นดิน
-ทรัพย์(วัตถุอันมีรูปร่าง) ซึ่งติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น ตึก ต้นไม้ยืนต้น อนุสาวรีย์
-สิทธิเหนือที่ดินและทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิเก็บกิน ->เหล่านี้เป็นทรัพยสิทธิ
2.สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อื่นที่นอกจากอสังหาริมทรัพย์และบรรดาสิทธิทั้งหลายที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ เช่น สิทธิจำนำ สิทธิยึดหน่วง(เช่น นาย ก.เอารถยนต์ไปซ่อมที่อู่ แต่ไม่ยอมเอาเงินไปจ่ายเสียที ดังนี้ ทางอู่มีสิทธิยึดหน่วงรถไม่คืนนาย ก.ได้) ตัวอย่างของ สังหาริมทรัพย์(ทรัพย์ซึ่งนำเคลื่อนที่ไปได้) เช่น ดินสอ โต๊ะ เก้าอี้
3.สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ คือ กฎหมายได้ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่มีบทพิเศษในส่วนของทรัพย์จำพวกนี้ ได้แก่(ให้จำไว้เลย เพราะมีไม่กี่อย่างเท่านั้น) เรือนแพ(ที่ใช้อยู่อาศัย) สัตว์พาหนะ(ที่ตรารูปพรรณสัณฐานแล้ว) เรือระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป เรือกลไป เรือกำปั่น[3]
ทรัพย์ ยังแบ่งเป็น ทรัพย์ในพาณิชย์ และ ทรัพย์นอกพาณิชย์
-ทรัพย์ในพาณิชย์ คือ ทรัพย์ที่ถือเอาได้ และโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
-ทรัพย์นอกพาณิชย์ คือ ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้(ก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์) หรือ
ทรัพย์ที่ไม่อาจโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ที่ดินธรณีสงฆ์
(หากจะโอนที่สาธารณะสมบัติต้องอาศัยอำนาจจากพระราชกฤษฎีกาหรือศักดิ์สูงกว่า)
*ดอกผล คือ ประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง(ทรัพย์แม่) ดอกผลของทรัพย์ มี 2 ประเภท ได้แก่
-ดอกผลธรรมดา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยหลุดออกจากทรัพย์แม่ เช่น ผลไม้ น้ำนม ไข่ไก่ ขนสัตว์
-ดอกผลนิตินัย เป็นดอกผลในทางกฎหมาย คือ 1.เป็นทรัพย์หรือการได้รับประโยชน์
2.เจ้าของทรัพย์แม่ได้รับจากผู้อื่น
3.ผู้อื่นให้ทรัพย์หรือประโยชน์นั้นแก่เจ้าของทรัพย์แม่
เพื่อเป็นการตอบแทน ที่ได้ใช้ทรัพย์ของเจ้าของทรัพย์แม่นั้น
ดอกผลนิตินัย ได้แก่ ดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่า ค่าปันผล เป็นต้น
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
-กรณีโดยทั่วไป เช่น มีการงอกของที่ดินบริเวณชายตลิ่ง(ส่วนที่งอกออกมาย่อมเป็นกรรสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแม่ด้วย) การซื้อขายโดยปกติ กรรมสิทธิ์จะโอนทันที่เมื่อเกิดสัญญา(คำเสนอ-สนองตรงกัน) แต่ถ้ายังไม่กำหนดทรัพย์สินที่ซื้อขายไว้แน่นอน(โดยการชั่ง ตวง วัด)กรรมสิทธิ์ก็ยังไม่โอน จะโอนตราบเมื่อได้แยกไว้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว
ตัวอย่าง ซื้อข้าวสาร70กระสอบ จากจำนวนหลายกระสอบ แม้จะยังไม่ชำระราคา แต่ผู้ขายก็ได้จ้างคนขนส่งข้าวขึ้นรถบรรทุกไปส่งแก่ผู้ซื้อ อังขณะที่รถขนส่งข้าวสารไปให้ผู้ซื้อ ข้าวสารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อแล้ว[4] หากระหว่างทางรถที่ขนส่งถูกฟ้าผ่า ข้าวสารลุกไหม้ เช่นนี้ ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินค่าข้าวสาร เพราะกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว
-กรณีพิเศษ คือ ได้โดยผลทางกฎหมาย เช่น กรณีครอบครองปรปักษ์
ถาม การครอบครองปรปักษ์ คือ อะไร?
ตอบ การครอบครองปรปักษ์ คือ การครอบครองโดยเจตนายึดถือเป็นเจ้าของ โดยสงบ(ไม่ถูกเจ้าของที่แท้จริงขับไล่) และเปิดเผย(ไม่มีการปิดบังซ่อนเร้น) ทั้งผู้ครอบครองปรปักษ์อาจเป็นธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ เพื่ออ้างต่อศาลในการให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
-กรณีเป็นสังหาริมทรัพย์ 5 ปี
-กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ 10 ปี
ที่มา:planet.kapook.com/conscience/blog/viewnew/89112
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง ซึ่งได้แก่สิ่งซึ่งมองเห็นได้ด้วยตา จับต้องสัมผัสได้ [1] เช่น สมุด ปากกา โต๊ะ วัว รถยนต์ เป็นต้น
ทรัพย์สิน หมายถึง วัตถุมีรูปร่างและวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีค่าและอาจถือเอาได้
สังเกต คำว่า “ทรัพย์สิน” มีความหมายกว้างกว่าคำว่า “ทรัพย์”
สรุปทรัพย์สิน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.เป็นวัตถุมีรูปร่าง(คือทรัพย์)หรือเป็นวัตถุไม่มีรูปร่างก็ได้(เช่น ลิขสิทธิ์ หุ้น เช็ค โฉนด->เป็นสิ่งแสดงกรรมสิทธิ์
ไม่ได้หมายถึงใบกระดาษ)
2.มีราคา คือสิ่งนั้นมีมูลค่าในตัวของมันเอง ไม่จำเป็นต้องมีราคาที่ซื้อขายในท้องตลาด[2] เช่นจดหมายคนรักที่ติดต่อกัน แสตมป์ที่ใช้แล้ว แต่ผู้ใช้สะสมเอาไว้ ก้อนหินที่ระลึกจากยอดเขาเอเวอเรสต์ เป็นต้น
3.ถือเอาได้ คือ สามารถเข้าครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ เป็นเจ้าของได้(พระจันทร์ ดาว จึงไม่ใช่ทรัพย์สิน)
ทรัพย์ตามกฎหมาย จำแนกเป็น 2 ประเภท
1.อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน มีลักษณะเป็นการถาวร ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน อีกทั้งยังหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิเกี่ยวกับที่ดินด้วย
-ที่ดิน หมายถึง พื้นแผ่นดิน
-ทรัพย์(วัตถุอันมีรูปร่าง) ซึ่งติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น ตึก ต้นไม้ยืนต้น อนุสาวรีย์
-สิทธิเหนือที่ดินและทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิเก็บกิน ->เหล่านี้เป็นทรัพยสิทธิ
2.สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อื่นที่นอกจากอสังหาริมทรัพย์และบรรดาสิทธิทั้งหลายที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ เช่น สิทธิจำนำ สิทธิยึดหน่วง(เช่น นาย ก.เอารถยนต์ไปซ่อมที่อู่ แต่ไม่ยอมเอาเงินไปจ่ายเสียที ดังนี้ ทางอู่มีสิทธิยึดหน่วงรถไม่คืนนาย ก.ได้) ตัวอย่างของ สังหาริมทรัพย์(ทรัพย์ซึ่งนำเคลื่อนที่ไปได้) เช่น ดินสอ โต๊ะ เก้าอี้
3.สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ คือ กฎหมายได้ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่มีบทพิเศษในส่วนของทรัพย์จำพวกนี้ ได้แก่(ให้จำไว้เลย เพราะมีไม่กี่อย่างเท่านั้น) เรือนแพ(ที่ใช้อยู่อาศัย) สัตว์พาหนะ(ที่ตรารูปพรรณสัณฐานแล้ว) เรือระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป เรือกลไป เรือกำปั่น[3]
ทรัพย์ ยังแบ่งเป็น ทรัพย์ในพาณิชย์ และ ทรัพย์นอกพาณิชย์
-ทรัพย์ในพาณิชย์ คือ ทรัพย์ที่ถือเอาได้ และโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
-ทรัพย์นอกพาณิชย์ คือ ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้(ก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์) หรือ
ทรัพย์ที่ไม่อาจโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ที่ดินธรณีสงฆ์
(หากจะโอนที่สาธารณะสมบัติต้องอาศัยอำนาจจากพระราชกฤษฎีกาหรือศักดิ์สูงกว่า)
*ดอกผล คือ ประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง(ทรัพย์แม่) ดอกผลของทรัพย์ มี 2 ประเภท ได้แก่
-ดอกผลธรรมดา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยหลุดออกจากทรัพย์แม่ เช่น ผลไม้ น้ำนม ไข่ไก่ ขนสัตว์
-ดอกผลนิตินัย เป็นดอกผลในทางกฎหมาย คือ 1.เป็นทรัพย์หรือการได้รับประโยชน์
2.เจ้าของทรัพย์แม่ได้รับจากผู้อื่น
3.ผู้อื่นให้ทรัพย์หรือประโยชน์นั้นแก่เจ้าของทรัพย์แม่
เพื่อเป็นการตอบแทน ที่ได้ใช้ทรัพย์ของเจ้าของทรัพย์แม่นั้น
ดอกผลนิตินัย ได้แก่ ดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่า ค่าปันผล เป็นต้น
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
-กรณีโดยทั่วไป เช่น มีการงอกของที่ดินบริเวณชายตลิ่ง(ส่วนที่งอกออกมาย่อมเป็นกรรสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแม่ด้วย) การซื้อขายโดยปกติ กรรมสิทธิ์จะโอนทันที่เมื่อเกิดสัญญา(คำเสนอ-สนองตรงกัน) แต่ถ้ายังไม่กำหนดทรัพย์สินที่ซื้อขายไว้แน่นอน(โดยการชั่ง ตวง วัด)กรรมสิทธิ์ก็ยังไม่โอน จะโอนตราบเมื่อได้แยกไว้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว
ตัวอย่าง ซื้อข้าวสาร70กระสอบ จากจำนวนหลายกระสอบ แม้จะยังไม่ชำระราคา แต่ผู้ขายก็ได้จ้างคนขนส่งข้าวขึ้นรถบรรทุกไปส่งแก่ผู้ซื้อ อังขณะที่รถขนส่งข้าวสารไปให้ผู้ซื้อ ข้าวสารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อแล้ว[4] หากระหว่างทางรถที่ขนส่งถูกฟ้าผ่า ข้าวสารลุกไหม้ เช่นนี้ ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินค่าข้าวสาร เพราะกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว
-กรณีพิเศษ คือ ได้โดยผลทางกฎหมาย เช่น กรณีครอบครองปรปักษ์
ถาม การครอบครองปรปักษ์ คือ อะไร?
ตอบ การครอบครองปรปักษ์ คือ การครอบครองโดยเจตนายึดถือเป็นเจ้าของ โดยสงบ(ไม่ถูกเจ้าของที่แท้จริงขับไล่) และเปิดเผย(ไม่มีการปิดบังซ่อนเร้น) ทั้งผู้ครอบครองปรปักษ์อาจเป็นธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ เพื่ออ้างต่อศาลในการให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
-กรณีเป็นสังหาริมทรัพย์ 5 ปี
-กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ 10 ปี
ที่มา:planet.kapook.com/conscience/blog/viewnew/89112
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั่วไป
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นกฎหมายหลักสำคัญที่ถูกนำมาใช้โดยทั่วไปในขณะนี้ และมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชน ซึ่งในส่วนของกฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่ได้รวบรวมหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติในเรื่องของการอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคม โดยได้รวมเอาเรื่องที่ประชาชนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในสังคม มารวบรวมเอาไว้เข้าด้วยกัน เช่น เกี่ยวกับเรื่องของสิทธิ หน้าที่ของบุคคลทั่วไป เกี่ยวกับการตกลงกัน การทำสัญญา การซื้อการขาย การให้ทรัพย์สิน เรื่องทรัพย์มรดก เรื่องของความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เป็นต้น
ในส่วนของกฎหมายแพ่งและพาณชิย์ สามารถแยกรายละเอียดเพื่อทำความเข้าใจที่ชัดเจนได้ ดังนี้คือ
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของ สิทธิ หน้าที่ ของคนเราโดยทั่วไป เจ้ากฎหมายที่ว่านี้ก็ได้เข้ามาวางระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยเข้ามากำหนดว่า บุคคลคนๆ หนึ่งจะมีสิทธิตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อใด แล้วจะสิ้นสุดลงเมื่อใด และในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ของบุคคลคนๆ นั้นจะสามารถใช้สิทธิได้อย่างไรบ้าง เช่น การจะถือว่าเรามีสภาพของความเป็นคนได้ ก็ต่อเมื่อคลอดออกมาจากท้องแม่แล้วสามารถอยู่รอดเป็นทารก แล้วไปสิ้นสุดสภาพของความเป็นคน เมื่อเราได้ตายไป หรือเด็กย่อมจะอยู่ในความดูแลเลี้ยงดูของพ่อแม่ เด็กจะไปทำสัญญาใดๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมของพ่อแม่ ย่อมไม่มีผลสมบูรณ์ อย่างนี้เป็นต้น
กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของ การค้าการขาย ซึ่งเป็นในเชิงของการพาณิชย์โดยทั่วไป โดยได้รวมเอาเรื่องของหลักเกณฑ์ของข้อตกลงต่างๆ หลักเกณฑ์การทำสัญญาแต่ละชนิดมาไว้ด้วยกัน เพื่อง่ายต่อการศึกษา รวมทั้งการบังคับใช้ โดยกฎหมายได้เข้ามาวางหลักเกณฑ์ แบบของสัญญาที่จะต้องทำ หลักฐานประกอบที่ต้องมี เช่น เรื่องของการซื้อขาย จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อผู้ที่ต้องรับผิด หรือการซื้อขายที่ดิน ก็ต้องทำเป็นหนังสือและต้องไปจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ อย่างนี้เป็นต้น เหตุที่กฎหมายต้องกำหนดเรื่องต่างๆ เอาไว้ ก็เนื่องมาจากคนเราต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม แล้วในสังคมหนึ่งๆ นั้น ก็มีผู้คนอยู่มากมายหลากหลาย ต่างนิสัย ต่างความคิด บางคนก็เป็นคนดี บางคนก็มีนิสัยที่เอาเปรียบมีความประพฤติที่ชั่วร้าย อีกทั้งบางคนก็ฉลาดหลักแหลม และอีกคนก็อาจจะโง่เขลา ซึ่งในสังคมที่ว่านี้ก็ต้องมีการติดต่อปฏิสัมพันธ์กันอยู่ด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้หากผู้คนอยู่ร่วมกันโดยไม่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับใดๆ แล้ว ความวุ่นวายคงจะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากคนที่มีความคิดที่ไม่ดี คนที่ไม่ซื่อที่จ้องแต่จะเอารัดเอาเปรียบ ค่อยมองหาช่องที่จะคดโกงเอาผลประโยชน์จากผู้อื่นมาเป็นของตนอยู่เสมอเมื่อมีโอกาส เมื่อเป็นเอย่างนี้สังคมก็ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ได้ ดังนั้นเมื่อเราต้องการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการควบคุมให้เรื่องหนึ่งๆเป็นไปบนบรรทัดฐานเดียวกัน ฉะนั้นเจ้ากฎหมายที่ว่านี้ ก็เป็นตัวเลือกที่นำมาแก้ไขและเยียวยาในเรื่องที่ว่านี้
สุรปแล้ว ทุกวันนี้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กลายเป็นกฎหมายที่สำคัญ มีบทบาทในฐานะของกฎเกณฑ์ที่ทำให้สังคมของเราอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ดีงาม และเป็นสิ่งที่ถูกต้องอันควรได้รับการยกย่องเสมอ
ที่มา:http://www.chawbanlaw.com/bq_law/folder_bg_1/bkg_1_1.html
ในส่วนของกฎหมายแพ่งและพาณชิย์ สามารถแยกรายละเอียดเพื่อทำความเข้าใจที่ชัดเจนได้ ดังนี้คือ
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของ สิทธิ หน้าที่ ของคนเราโดยทั่วไป เจ้ากฎหมายที่ว่านี้ก็ได้เข้ามาวางระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยเข้ามากำหนดว่า บุคคลคนๆ หนึ่งจะมีสิทธิตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อใด แล้วจะสิ้นสุดลงเมื่อใด และในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ของบุคคลคนๆ นั้นจะสามารถใช้สิทธิได้อย่างไรบ้าง เช่น การจะถือว่าเรามีสภาพของความเป็นคนได้ ก็ต่อเมื่อคลอดออกมาจากท้องแม่แล้วสามารถอยู่รอดเป็นทารก แล้วไปสิ้นสุดสภาพของความเป็นคน เมื่อเราได้ตายไป หรือเด็กย่อมจะอยู่ในความดูแลเลี้ยงดูของพ่อแม่ เด็กจะไปทำสัญญาใดๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมของพ่อแม่ ย่อมไม่มีผลสมบูรณ์ อย่างนี้เป็นต้น
กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของ การค้าการขาย ซึ่งเป็นในเชิงของการพาณิชย์โดยทั่วไป โดยได้รวมเอาเรื่องของหลักเกณฑ์ของข้อตกลงต่างๆ หลักเกณฑ์การทำสัญญาแต่ละชนิดมาไว้ด้วยกัน เพื่อง่ายต่อการศึกษา รวมทั้งการบังคับใช้ โดยกฎหมายได้เข้ามาวางหลักเกณฑ์ แบบของสัญญาที่จะต้องทำ หลักฐานประกอบที่ต้องมี เช่น เรื่องของการซื้อขาย จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อผู้ที่ต้องรับผิด หรือการซื้อขายที่ดิน ก็ต้องทำเป็นหนังสือและต้องไปจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ อย่างนี้เป็นต้น เหตุที่กฎหมายต้องกำหนดเรื่องต่างๆ เอาไว้ ก็เนื่องมาจากคนเราต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม แล้วในสังคมหนึ่งๆ นั้น ก็มีผู้คนอยู่มากมายหลากหลาย ต่างนิสัย ต่างความคิด บางคนก็เป็นคนดี บางคนก็มีนิสัยที่เอาเปรียบมีความประพฤติที่ชั่วร้าย อีกทั้งบางคนก็ฉลาดหลักแหลม และอีกคนก็อาจจะโง่เขลา ซึ่งในสังคมที่ว่านี้ก็ต้องมีการติดต่อปฏิสัมพันธ์กันอยู่ด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้หากผู้คนอยู่ร่วมกันโดยไม่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับใดๆ แล้ว ความวุ่นวายคงจะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากคนที่มีความคิดที่ไม่ดี คนที่ไม่ซื่อที่จ้องแต่จะเอารัดเอาเปรียบ ค่อยมองหาช่องที่จะคดโกงเอาผลประโยชน์จากผู้อื่นมาเป็นของตนอยู่เสมอเมื่อมีโอกาส เมื่อเป็นเอย่างนี้สังคมก็ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ได้ ดังนั้นเมื่อเราต้องการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการควบคุมให้เรื่องหนึ่งๆเป็นไปบนบรรทัดฐานเดียวกัน ฉะนั้นเจ้ากฎหมายที่ว่านี้ ก็เป็นตัวเลือกที่นำมาแก้ไขและเยียวยาในเรื่องที่ว่านี้
สุรปแล้ว ทุกวันนี้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กลายเป็นกฎหมายที่สำคัญ มีบทบาทในฐานะของกฎเกณฑ์ที่ทำให้สังคมของเราอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ดีงาม และเป็นสิ่งที่ถูกต้องอันควรได้รับการยกย่องเสมอ
ที่มา:http://www.chawbanlaw.com/bq_law/folder_bg_1/bkg_1_1.html
ประเภทของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งแยกประเภทกฎหมายที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะแห่งการใช้ เป็นการแบ่งแยกโดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้กฎหมายเป็นหลัก ได้แก่
-กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาหรือเรื่องทั่วๆไป เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมความประพฤติรวมไปถึงกำหนดสิทธิและหน้าที่ต่างๆของพลเมืองไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา
-กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการหรือวิธีการที่จะบังคับหรือดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัตินั่นเอง ได้แก่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฯลฯ ตัวอย่างเช่นในประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่าผู้ใดฆ่าผู้อื่นผู้นั้นมีความผิด แต่ไม่ได้กำหนดว่ามีจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อย่างไร ไม่มีขั้นตอนการดำเนินการกำหนดไว้ เราก็ต้องอาศัยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เราอาจเปรียบเทียบเป็นตัวอย่างง่ายๆได้ว่า หากเราเปรียบเทียบว่ากฎหมายสารบัญญัติเปรียบได้กับเครื่องกรองน้ำที่ใช้ในการกรองน้ำให้สะอาด กฎหมายวิธีสบัญญัติก็จะหมายถึงวิธีการใช้เครื่องกรองน้ำนั้นหรือกระบวนการการทำงานของเครื่องกรองน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของน้ำสะอาดให้เราใช้ดื่มกินนั่นเอง ถ้าเราไม่รู้วิธีใช้หรือไม่มีกระบวนการการกรองน้ำติดตั้งอยู่ในเครื่อง เราก็จะทำการกรองน้ำให้สะอาดไม่ได้ เช่นเดียวกันนี้ถ้าไม่มีกฎหมายวิธีสบัญญัติ การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติก็จะทำได้ยาก เพราะไม่มีแบบแผนและวิธีการแน่นอน ขาดความเป็นระเบียบและไร้ประสิทธิภาพ
2.แบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณี ได้แก่
-กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง ซึ่งกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ของแต่ละเอกชน รวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ของเอกชนที่มีต่อเอกชนด้วยกันด้วย กฎหมายเอกชนก็ได้แก่กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์ กฎหมายแพ่งจะกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่รวมไปถึงความสัมพันธ์ของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย ส่วนกฎหมายพาณิชย์ก็จะกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลที่เข้ามามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อกัน เช่น กำหนดถึงสิทธิแบะหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาซื้อขาย คู่สัญญากู้ยืมเงิน ฯลฯ
-กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างรํฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าที่ของรัฐกับประชาชน เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
-กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศต่างๆในโลกต้องมีการติดต่อมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ทั้งในการค้า เศรษฐกิจ และการประสานงานช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศอาจมาในรูปของสนธิสัญญา จารีตประเพณีหรือความตกลงกันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศอาจไม่มีสภาพบังคับที่ชัดเจน แต่ก็ถือเป็นกฎหมายได้ เนื่องจากเป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐ เช่นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ฯลฯ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)