การเรียนรู้กฎหมาย

บล๊อกเกอร์จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาและการปฏิบัติในการทดลองสร้างบล๊อกเกอร์ในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายในสังคมไทย

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

พระราชกฤษฎีกา



พระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดย พระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
ตามรัฐธรรมนูญการตราพระราชกฤษฎีกา จะเกิดขึ้นใน ๓ กรณี คือ
(๑) รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาในกิจการที่สำคัญอันเกี่ยวกับฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น
พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
หรือพระราชกฤษฎีให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๒) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
เป็นการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหาร ไม่ใช้บังคับแก่ประชาชนทั่วไป อนึ่ง
กรณีนี้จะไม่มีบทมาตราใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราช-กฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
(๓) โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแม่บท (พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด)ที่ให้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกาได้ เช่น
พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๒๒ กำหนดว่าการให้ปริญญาใด ๆ
ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรณีนี้กฎหมายแม่บทจะกำหนดแต่หลักสาระสำคัญไว้
ส่วนรายละเอียดให้ออกเป็นพระราชกฤษ-ฎีกา (หรือออกให้เป็นกฎกระทรวง)
เหตุที่กฎหมายแม่บทกำหนดแต่หลักการส่วนรายละเอียดนั้นให้ออกเป็น พระราชกฤษฎีกา (หรือกฎกระทรวง)
ก็เพราะมีเหตุผลอธิบายได้ ๔ ประการ คือ
(๑) ทำให้กฎหมายแม่บทอ่านง่าย เข้าใจง่ายเพราะมีแต่หลักการใหญ่ ๆ อันเป็นสาระสำคัญ
(๒) ประหยัดเวลาของผู้บัญญัติกฎหมายแม่บท ที่จะไม่ต้องเสียเวลาพิจารณา รายละเอียดปลีกย่อย
ซึ่งสมควรมอบหมายความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารไปกำหนดได้เอง
(๓) พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงแก้ไขให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยน-แปลงไปได้ง่ายกว่ากฎหมายแม่บท ทั้งนี้
เพราะกฎหมายแม่บทจะต้องผ่านความเห็นชอบของบุคคลหลายฝ่าย
(๔) ทำให้กฎหมายเหมาะสมกับกาลเวลาอยู่เสมอ เพราะถ้าพฤติการณ์เปลี่ยน-แปลงไป
ก็เป็นแต่แก้ไขพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเท่านั้น ไม่ต้องแก้ไขตัวกฎหมาย แม่บท
สำหรับกระบวนการในการตราพระราชกฤษฎีกานั้นมีสาระสำคัญ และขั้นตอนดังต่อไปนี้
ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ
บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือได้รักษาการตามกฎหมายแม่บทที่บัญญัติให้ออกพระราชกฤษฎีกานั้น ๆ ตัวอย่างเช่น
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พุทธศักราช ๒๕๓๕
ผู้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพราะเป็นผู้รักษาการตาม
พระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจพิจารณาพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ คณะรัฐมนตรี
ผู้มีอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ พระมหากษัตริย์
การใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ร่างพระราชกฤษฎีกาจะใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ต่อเมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ข้อสังเกต โดยทั่วไปการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่หรือรวม โอน กระทรวง ทบวง กรม
จะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ แต่ด้วยรัฐธรรมนูญใหม่มีเจตนารมณ์ที่จะให้รัฐบาลตั้งกระทรวง ทบวง กรม
หรือโอนหรือยุบกระทรวง ทบวง กรมได้ง่ายขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้ทันการณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น