การเรียนรู้กฎหมาย

บล๊อกเกอร์จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาและการปฏิบัติในการทดลองสร้างบล๊อกเกอร์ในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายในสังคมไทย

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

กฎหมายมหาชน

หลักกฎหมายมหาชน เป็นการศึกษาถึงความหมายและพัฒนาการของกฎหมายมหาชน แนวความคิดพื้นฐาน ลักษณะเฉพาะและบทบาทความสำคัญของกฎหมายมหาชน ความหมาย องค์ประกอบและรูปแบบของรัฐ ความเป็นนิติบุคคล และสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ การปกครองโดยกฎหมาย บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน และนิติวิธีของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชนมิได้เน้นที่ตัวบทกฎหมาย แต่เน้นที่การศึกษาปรัชญา แนวความคิด และทฤษฎีต่าง ๆ อันเป็นที่มาของหลักกฎหมายมหาชน และยังมีความเกี่ยวโยงอยู่กับแนวทางของวิชารัฐศาสตร์อยู่อีกด้วย ซึ่งนิติปรัชญาและนิติวิธีของกฎหมายมหาชนนั้นมีหลักการ แนวความคิด และวิธีวิเคราะห์ปัญหาที่แตกต่างกับกฎหมายเอกชน

 ความหมายของกฎหมายมหาชน
อัลเปียน (ULPIAN) นักปราชญ์สมัยโรมันยุคคลาสสิก ได้อธิบายไว้ว่า "กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐโรมัน ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน"

ศาสตราจารย์ Maurice DUVERGER (ศ. มอริส ดูแวร์เช่) แห่งมหาวิทยาลัยปารีส ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับสถานะและอำนาจของผู้ปกครอง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง
กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้อยู่ใต้ปกครองด้วยกัน"

ศาสตราจารย์ Andre de LAUBADERE (ศ. อองเดร เดอ โรมาแดร์) ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่วางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคล (Personnes Publiques) อันได้แก่ รัฐ องค์การปกครอง และรวมตลอดถึงนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนอื่น ๆ (เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล) กฎหมายมหาชนจะวางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคลในด้านองค์กร การดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลด้วยกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลและเอกชน"

ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือ ในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร
กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ในฐานะที่เท่าเทียมกัน"

ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชนนั้น อาจให้บทวิเคราะห์ศัพท์ดังนี้คือ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอันเกิดขึ้นเนื่องจาก การที่ประเทศแสดงตัวเป็นผู้บังคับปกครองในพระราชอาณาจักร โดยรักษาความสงบเรียบร้อย ระเบียบ การเก็บภาษีอากร และการที่ประเทศแสดงตัวนอกพระราชอาณาจักรเป็นผู้ทำการเกี่ยวพันกับประเทศอื่น"

รศ. ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง ได้อธิบายความหมายของกฎหมายมหาชนไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ "สถานะและอำนาจ" ของรัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน"

     จากคำอธิบายของศาสตราจารย์และนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ จึงสามารถสรุปได้ว่า "กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับการปกครอง หรือเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ"
ข้อสังเกต จากความหมายของกฎหมายมหาชนที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะไม่มีเรื่อง "การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน" หรือ "การจัดทำบริการสาธารณะ" เข้ามาเกี่ยวข้องเลย เนื่องจากว่า "การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน"

      นั้นเป็นหลักการทางทฤษฎีอย่างหนึ่งในรัฐประชาธิปไตยเสรีนิยม ส่วน "การจัดทำบริการสาธารณะ" ก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์ของกฎหมายปกครอง และกฎหมายปกครองก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดากฎหมายมหาชนทั้งหลายเท่านั้น ดังนั้นการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนว่า "เป็นกฎหมายที่จะต้องสามารถควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้โดยประชาชน" หรือ "เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ" จึงเป็นการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนที่ถูกต้องแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเป็นความหมายที่ไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายมหาชนประเภทอื่นที่มิใช่กฎหมายปกครอง อาทิเช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญและยังไม่เป็นความหมายสากลอีกด้วย เนื่องจากว่าไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายมหาชนในรัฐที่ปกครองด้วยระบอบการปกครองอื่นนอกเหนือไปจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม ซึ่งรัฐอื่น ๆ เหล่านั้นมิได้มีการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชนแต่
ที่มา:http://www.sheetram.com/lw101.asp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น