การเรียนรู้กฎหมาย

บล๊อกเกอร์จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาและการปฏิบัติในการทดลองสร้างบล๊อกเกอร์ในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายในสังคมไทย

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

กฎหมายลักษณะทรัพย์

กฎหมายลักษณะทรัพย์
                ทรัพย์ หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง ซึ่งได้แก่สิ่งซึ่งมองเห็นได้ด้วยตา จับต้องสัมผัสได้ [1] เช่น  สมุด  ปากกา  โต๊ะ  วัว  รถยนต์ เป็นต้น
                ทรัพย์สิน  หมายถึง วัตถุมีรูปร่างและวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีค่าและอาจถือเอาได้
สังเกต   คำว่า “ทรัพย์สิน” มีความหมายกว้างกว่าคำว่า “ทรัพย์”
สรุปทรัพย์สิน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.เป็นวัตถุมีรูปร่าง(คือทรัพย์)หรือเป็นวัตถุไม่มีรูปร่างก็ได้(เช่น ลิขสิทธิ์  หุ้น เช็ค โฉนด->เป็นสิ่งแสดงกรรมสิทธิ์
   ไม่ได้หมายถึงใบกระดาษ)
2.มีราคา คือสิ่งนั้นมีมูลค่าในตัวของมันเอง ไม่จำเป็นต้องมีราคาที่ซื้อขายในท้องตลาด[2] เช่นจดหมายคนรักที่ติดต่อกัน    แสตมป์ที่ใช้แล้ว แต่ผู้ใช้สะสมเอาไว้    ก้อนหินที่ระลึกจากยอดเขาเอเวอเรสต์  เป็นต้น
3.ถือเอาได้ คือ สามารถเข้าครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ เป็นเจ้าของได้(พระจันทร์ ดาว จึงไม่ใช่ทรัพย์สิน)

ทรัพย์ตามกฎหมาย จำแนกเป็น 2 ประเภท
1.อสังหาริมทรัพย์  หมายถึง  ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน มีลักษณะเป็นการถาวร  ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน   อีกทั้งยังหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิเกี่ยวกับที่ดินด้วย
     -ที่ดิน  หมายถึง พื้นแผ่นดิน
     -ทรัพย์(วัตถุอันมีรูปร่าง) ซึ่งติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น  ตึก  ต้นไม้ยืนต้น อนุสาวรีย์
     -สิทธิเหนือที่ดินและทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ กรรมสิทธิ์  สิทธิครอบครอง  สิทธิเก็บกิน ->เหล่านี้เป็นทรัพยสิทธิ
2.สังหาริมทรัพย์  หมายถึง ทรัพย์อื่นที่นอกจากอสังหาริมทรัพย์และบรรดาสิทธิทั้งหลายที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ เช่น สิทธิจำนำ  สิทธิยึดหน่วง(เช่น นาย ก.เอารถยนต์ไปซ่อมที่อู่  แต่ไม่ยอมเอาเงินไปจ่ายเสียที  ดังนี้ ทางอู่มีสิทธิยึดหน่วงรถไม่คืนนาย ก.ได้)   ตัวอย่างของ สังหาริมทรัพย์(ทรัพย์ซึ่งนำเคลื่อนที่ไปได้) เช่น ดินสอ   โต๊ะ  เก้าอี้
3.สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ  คือ  กฎหมายได้ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่มีบทพิเศษในส่วนของทรัพย์จำพวกนี้  ได้แก่(ให้จำไว้เลย  เพราะมีไม่กี่อย่างเท่านั้น)   เรือนแพ(ที่ใช้อยู่อาศัย)  สัตว์พาหนะ(ที่ตรารูปพรรณสัณฐานแล้ว)  เรือระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป  เรือกลไป  เรือกำปั่น[3]
ทรัพย์ ยังแบ่งเป็น ทรัพย์ในพาณิชย์ และ ทรัพย์นอกพาณิชย์
-ทรัพย์ในพาณิชย์  คือ ทรัพย์ที่ถือเอาได้ และโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
-ทรัพย์นอกพาณิชย์  คือ ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้(ก้อนเมฆ  ดวงอาทิตย์)  หรือ
        ทรัพย์ที่ไม่อาจโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย  เช่น  ยาเสพติด  ที่ดินธรณีสงฆ์
        (หากจะโอนที่สาธารณะสมบัติต้องอาศัยอำนาจจากพระราชกฤษฎีกาหรือศักดิ์สูงกว่า)
*ดอกผล  คือ  ประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง(ทรัพย์แม่) ดอกผลของทรัพย์ มี 2 ประเภท ได้แก่
-ดอกผลธรรมดา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยหลุดออกจากทรัพย์แม่ เช่น  ผลไม้  น้ำนม  ไข่ไก่  ขนสัตว์
 -ดอกผลนิตินัย  เป็นดอกผลในทางกฎหมาย   คือ 1.เป็นทรัพย์หรือการได้รับประโยชน์
2.เจ้าของทรัพย์แม่ได้รับจากผู้อื่น
3.ผู้อื่นให้ทรัพย์หรือประโยชน์นั้นแก่เจ้าของทรัพย์แม่
เพื่อเป็นการตอบแทน ที่ได้ใช้ทรัพย์ของเจ้าของทรัพย์แม่นั้น
                                ดอกผลนิตินัย ได้แก่  ดอกเบี้ย  กำไร  ค่าเช่า  ค่าปันผล  เป็นต้น
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
-กรณีโดยทั่วไป  เช่น  มีการงอกของที่ดินบริเวณชายตลิ่ง(ส่วนที่งอกออกมาย่อมเป็นกรรสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแม่ด้วย)   การซื้อขายโดยปกติ กรรมสิทธิ์จะโอนทันที่เมื่อเกิดสัญญา(คำเสนอ-สนองตรงกัน)  แต่ถ้ายังไม่กำหนดทรัพย์สินที่ซื้อขายไว้แน่นอน(โดยการชั่ง ตวง วัด)กรรมสิทธิ์ก็ยังไม่โอน  จะโอนตราบเมื่อได้แยกไว้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว
                ตัวอย่าง ซื้อข้าวสาร70กระสอบ จากจำนวนหลายกระสอบ แม้จะยังไม่ชำระราคา  แต่ผู้ขายก็ได้จ้างคนขนส่งข้าวขึ้นรถบรรทุกไปส่งแก่ผู้ซื้อ อังขณะที่รถขนส่งข้าวสารไปให้ผู้ซื้อ ข้าวสารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อแล้ว[4]  หากระหว่างทางรถที่ขนส่งถูกฟ้าผ่า ข้าวสารลุกไหม้  เช่นนี้ ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินค่าข้าวสาร  เพราะกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว
-กรณีพิเศษ คือ ได้โดยผลทางกฎหมาย  เช่น กรณีครอบครองปรปักษ์
ถาม การครอบครองปรปักษ์ คือ อะไร?
                ตอบ การครอบครองปรปักษ์ คือ การครอบครองโดยเจตนายึดถือเป็นเจ้าของ  โดยสงบ(ไม่ถูกเจ้าของที่แท้จริงขับไล่) และเปิดเผย(ไม่มีการปิดบังซ่อนเร้น)   ทั้งผู้ครอบครองปรปักษ์อาจเป็นธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ เพื่ออ้างต่อศาลในการให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
                -กรณีเป็นสังหาริมทรัพย์  5  ปี
                -กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ 10 ปี
ที่มา:planet.kapook.com/conscience/blog/viewnew/89112

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น