การเรียนรู้กฎหมาย
บล๊อกเกอร์จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาและการปฏิบัติในการทดลองสร้างบล๊อกเกอร์ในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายในสังคมไทย
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554
พระบิดาแห่งกฎหมายไทย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็น พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจองมารดาตลับ ทรงประสูตเมื่อ วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ .2417
เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทย ในสำนัก ของพระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกูร ) และพระยาโอวาทวรกิจ ต่อมา ทรงศึกษาต่อที่ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และได้ทรงศึกษา ชั้นมัธยม ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ได้ทรงศึกษา วิชากฎหมาย ณ สำนักโครสต์ เซิร์ซ มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด จนสำเร็จ ได้ปริญญาตรี เกียรตินิยม สาขากฎหมาย
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้เสด็จกลับ ประเทศไทย และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2439 ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น สภานายกพิเศษ พิจารณาแก้ไข ธรรมเนียม ศาลยุติธรรม สำหรับหัวเมือง จนสำเร็จ ทั่วพระราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังทรง จัดวางระเบียบ ศาลยุติธรรม ของประเทศ จากระบบเก่า มาสู่ระบบใหม่ ทรงแก้ บทกฎหมาย ว่าด้วย การพิจารณาความแพ่ง และอาญาเสียใหม่ อันส่งผลให้ ราชการ ศาลยุติธรรม ทัดเทียมกับ นานาอารยประเทศ และมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2440 พระองค์ทรงเป็น ประธานคณะกรรมการ การตรวจพระราชกำหนด บทอัยการที่ใช้อยู่ และจัดวางระเบียบไว้ เป็นบรรทัดฐาน พระองค์ทรงมี บทบาทอย่างมาก ในการตรวจชำระ บทอัยการครั้งนี้ โดยเฉพาะ การจัดทำ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายไทย ฉบับแรก สำเร็จใน พ.ศ.2451 โดยใช้เวลาถึง 11 ปี ประเทศไทย ได้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนี้มาเป็นเวลานานถึง 49 ปี ซึ่งถือได้ว่าเ ป็นต้นแบบของ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประกาศให้ใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500
เมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงดำริว่า การที่จะให้ ราชการฝ่าย การศาลยุติธรรม ดำเนินไปได้ด้วยดีนั้น จำเป็นต้อง จัดให้มี ผู้รู้กฎหมายมากขึ้น และการที่จะจัดเช่นนั้นได้ดีที่สุด คือ เปิดให้มีการสอน ชุดวิชากฎหมายขึ้น ให้เป็นการแพร่หลาย จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เป็นการเปิดการสอน กฎหมายครั้งแรก พระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนด้วยพระองค์เอง
ทรงห่วงใย นักเรียนกฎหมาย และปรารถนาที่จะ ให้ใช้วิชากฎหมาย ในทางปฏิบัติจริง ๆ จึงทรงสนับสนุน ในการว่าความ นักเรียนคนใด ไม่มีความจะว่า ก็ทรงให้ว่าความแทนผู้ต้องหา ในเรือนจำ นอกจาก การสอนประจำวันแล้ว พระองค์ยังทรง แต่งตำราอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงรวบรวม กฎหมายตราสามดวง อันเป็นกฎหมายเก่า ที่ใช้อยู่ในเวลานั้น รวมทั้ง พระราชบัญญัติ บางฉบับ และคำพิพากษาฎีกาบางเรื่อง โดยจัดพิมพ์ขึ้น เป็นสมุดเล่มใหญ่ แบ่งเป็นหมวดหมู่ มีคำอธิบาย และสารบัญละเอียด กฎหมายตราสามดวง ที่ทรงรวบรวมขึ้นนั้นให้ชื่อว่า กฎหมายราชบุรี ซึ่งเป็นรากฐาน ในการศึกษากฎหมายมาหลายทศวรรษ
ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2440 ทรงเปิดให้มีการสอบไล่เป็นเนติบัณฑิต ผู้สำเร็จเนติบัณฑิต เหล่านี้ ได้เข้ารับราชการ เป็นกำลังของกระทรวงยุติธรรมหลายท่านด้วยกัน บางท่านเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนกฎหมาย การตั้งโรงเรียนกฎหมาย และพระนิพนธ์ทางกฎหมาย ของพระองค์นั้นนับว่าเป็นรากฐาน ในการก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ
ในปี พ.ศ. 2453 ขณะยังทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้ทรงขอลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงประชวรอยู่เสมอ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ลาออกในปีนั้นเอง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้ทรงมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และในปีนั้นเอง ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ในระหว่างที่ทรงเป็น เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงจัดการแก้ไข และวางระเบียบการ ในกระทรวงให้ดียิ่งขึ้น คือ ทรงแก้ไข ระเบียบการของหอทะเบียนที่ดินทั้งหลาย ทั่วพระราชอาณาจักร โดยทรงจัดให้มี การประชุม นายทะเบียนเป็นครั้งคราว ทรงพัฒนาการออกโฉนกที่ดิน ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มี และทรงทำนุบำรุงการเกษตร โดยเฉพาะเรื่อง การชลประทาน และการทดน้ำ นับว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติราชการสำคัญ อันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างยิ่ง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยวัณโรคที่พระวักกะ (ไต) จึงได้ทรง กราบถวายบังคมลา ไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 ได้ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุเพียง 47 พรรษา
จากการที่ได้ทรง ทุ่มเทพพระวรกาย ศึกษาวิชาการทางกฎหมาย และทรงทำให้ ระบบกฎหมาย และศาลยุติธรรม ของประเทศไทยเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับอนารยประเทศทั้งปวงนี้เอง ทำให้ประชาชน ต่างขนานพระนามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และกำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันรพี" เพื่อให้ บรรดานักกฎหมาย ได้มีโอกาส แสดงความระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการ วางพวงมาลา หน้าพระรูป และบำเพ็ญกุศลร่วมกัน ตลอดจน การจัดกิจกรรม ทางกฎหมาย ในหลายรูปแบบ เพื่อเผยแพร่ วิชาการกฎหมาย ให้กว้างขวางสู่ประชาชน สมดังพระประสงค์ ที่ต้องการให้ นักกฎหมายมีบทบาท ในการพัฒนาประเทศ โดยพัฒนากฎหมาย ให้ก้าวหน้า เหมาะสมแก่สภาพสังคม ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และใช้กฏหมาย เพื่อให้เกิด ความยุติธรรมแก่ประชาชน
ที่มา:http://www.thailandroad.com/chaninat/rapree.htm
กฎหมายนิติกรรมสัญญา
นิติกรรมและสัญญา
ปัจจุบันความจำเป็นของบุคคลต่าง ๆ ในการก่อนิติสัมพันธ์มีความแพร่หลายมากขึ้น โดยบุคคลนั้นอาจเกี่ยวพันในฐานะของผู้ให้สัญญาหรือผู้รับสัญญา ซึ่งแล้วแต่สถานะ เจตนารมย์ หรือวัตถุประสงค์ ในการทำสัญญานั้น ซึ่งก่อนที่จะมีการก่อนิติสัมพันธ์นั้น ควรทราบความหมายประเภท องค์ประกอบต่าง ๆ ในการก่อนิติสัมพันธ์ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป
นิติกรรม
มีความหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ (ป.พ.พ.ม. 149)
กล่าวโดยย่อ นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมาย ที่จะเกิดขึ้นเพื่อการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้เงิน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรม เป็นต้น
ประเภทของนิติกรรม จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและ มีผลตามกฎหมาย ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้ เช่น การก่อตั้งมูลนิธิ คำมั่นโฆษณาจะให้รางวัล การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย การทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง เป็นต้น
นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างต้องตกลงยินยอมระหว่างกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น หรือเรียกกันว่า สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาขายฝาก จำนอง จำนำ เป็นต้น
ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา
โดยหลักทั่วไป บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา แต่มีข้อยกเว้น คือ บุคคลบางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องรับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรม (ป.พ.พ.ม. 21) เว้นแต่นิติกรรมที่ได้มาซึ่งสิทธิโดยสิ้นเชิงหรือเพื่อให้หลุดพ้นหน้าที่ หรือการที่ต้องทำเองเฉพาะตัวหรือกิจกรรมที่เหมาะสมแก่ฐานานุรูป และจำเป็นในการเลี้ยงชีพเหล่านี้ ผู้เยาว์ทำด้วยตนเองได้ (ป.พ.พ.ม.22,23,24) ส่วนคนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยศาล สำหรับคนเสมือนไร้ความสามารถทำกิจการเองได้ทุกอย่างเว้นแต่กิจกรรมบางอย่างตาม ป.พ.พ.ม. 34 จะทำได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ เช่น สัญญา ซื้อขายที่ดิน เป็นต้น ขณะที่บุคคลล้มละลายจะทำนิติกรรมใดไม่ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน
ผู้มีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา ปกติแล้ว บุคคลทุกคนต่างมีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา แต่ยังมีบุคคลบางประเภทที่เป็นผู้หย่อนความสามารถ กฎหมายจึงต้องเข้าดูแลคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ ไม่ให้ได้รับความเสียหายในการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าทำนิติกรรมของผู้นั้น
ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา ประกอบด้วย
(1) ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่ยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ การทำนิติกรรมสัญญาใด ๆ ของผู้เยาว์ กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บิดามารดาหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณีเสียก่อน การทำนิติกรรมสัญญาใดที่ปราศจากความยินยอมกฎหมายเรียกว่าเป็นโมฆียะ ซึ่งอาจถูก บอกล้างภายหลังได้ต่อเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือได้สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงพ้นจากภาวะ เป็นผู้เยาว์และเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ จึงมีความสามารถใช้สิทธิในการทำนิติกรรมสัญญาเองได้
(2) คนวิกลจริต คือ บุคคลที่มีสมองพิการหรือว่าจิตใจไม่ปกติ
(3) คนไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริตที่ศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
(4) คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลผู้ใดไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ หรือจัดการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เพราะการพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ ติดสุรายาเมา มีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น
(5) ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายตามกฎหมายล้มละลายเมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้หย่อนความสามารถ กล่าวคือ ลูกหนี้จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน
หรือกิจการของตนไม่ได้ เว้นแต่จะกระทำได้ตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหน้าที่ และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่มีอำนาจในการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ และการกระทำการอื่น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น การฟ้องร้อง การต่อสู้คดี การประนีประนอม เป็นต้น
(6) สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน จึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกันในการทำสัญญาผูกพันสินสมรส
กฎหมายอาญา
กฎหมายอาญา (อังกฤษ: Criminal law) เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิด
หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อยพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่านั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สภาพบังคับของกฎหมายอาญา
โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2
หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อยพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่านั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สภาพบังคับของกฎหมายอาญา
โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2
กฎหมายมหาชน
หลักกฎหมายมหาชน เป็นการศึกษาถึงความหมายและพัฒนาการของกฎหมายมหาชน แนวความคิดพื้นฐาน ลักษณะเฉพาะและบทบาทความสำคัญของกฎหมายมหาชน ความหมาย องค์ประกอบและรูปแบบของรัฐ ความเป็นนิติบุคคล และสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ การปกครองโดยกฎหมาย บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน และนิติวิธีของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชนมิได้เน้นที่ตัวบทกฎหมาย แต่เน้นที่การศึกษาปรัชญา แนวความคิด และทฤษฎีต่าง ๆ อันเป็นที่มาของหลักกฎหมายมหาชน และยังมีความเกี่ยวโยงอยู่กับแนวทางของวิชารัฐศาสตร์อยู่อีกด้วย ซึ่งนิติปรัชญาและนิติวิธีของกฎหมายมหาชนนั้นมีหลักการ แนวความคิด และวิธีวิเคราะห์ปัญหาที่แตกต่างกับกฎหมายเอกชน
ความหมายของกฎหมายมหาชน
อัลเปียน (ULPIAN) นักปราชญ์สมัยโรมันยุคคลาสสิก ได้อธิบายไว้ว่า "กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐโรมัน ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน"
ศาสตราจารย์ Maurice DUVERGER (ศ. มอริส ดูแวร์เช่) แห่งมหาวิทยาลัยปารีส ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับสถานะและอำนาจของผู้ปกครอง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง
กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้อยู่ใต้ปกครองด้วยกัน"
ศาสตราจารย์ Andre de LAUBADERE (ศ. อองเดร เดอ โรมาแดร์) ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่วางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคล (Personnes Publiques) อันได้แก่ รัฐ องค์การปกครอง และรวมตลอดถึงนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนอื่น ๆ (เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล) กฎหมายมหาชนจะวางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคลในด้านองค์กร การดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลด้วยกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลและเอกชน"
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือ ในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร
กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ในฐานะที่เท่าเทียมกัน"
ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชนนั้น อาจให้บทวิเคราะห์ศัพท์ดังนี้คือ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอันเกิดขึ้นเนื่องจาก การที่ประเทศแสดงตัวเป็นผู้บังคับปกครองในพระราชอาณาจักร โดยรักษาความสงบเรียบร้อย ระเบียบ การเก็บภาษีอากร และการที่ประเทศแสดงตัวนอกพระราชอาณาจักรเป็นผู้ทำการเกี่ยวพันกับประเทศอื่น"
รศ. ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง ได้อธิบายความหมายของกฎหมายมหาชนไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ "สถานะและอำนาจ" ของรัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน"
จากคำอธิบายของศาสตราจารย์และนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ จึงสามารถสรุปได้ว่า "กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับการปกครอง หรือเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ"
ข้อสังเกต จากความหมายของกฎหมายมหาชนที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะไม่มีเรื่อง "การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน" หรือ "การจัดทำบริการสาธารณะ" เข้ามาเกี่ยวข้องเลย เนื่องจากว่า "การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน"
นั้นเป็นหลักการทางทฤษฎีอย่างหนึ่งในรัฐประชาธิปไตยเสรีนิยม ส่วน "การจัดทำบริการสาธารณะ" ก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์ของกฎหมายปกครอง และกฎหมายปกครองก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดากฎหมายมหาชนทั้งหลายเท่านั้น ดังนั้นการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนว่า "เป็นกฎหมายที่จะต้องสามารถควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้โดยประชาชน" หรือ "เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ" จึงเป็นการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนที่ถูกต้องแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเป็นความหมายที่ไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายมหาชนประเภทอื่นที่มิใช่กฎหมายปกครอง อาทิเช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญและยังไม่เป็นความหมายสากลอีกด้วย เนื่องจากว่าไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายมหาชนในรัฐที่ปกครองด้วยระบอบการปกครองอื่นนอกเหนือไปจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม ซึ่งรัฐอื่น ๆ เหล่านั้นมิได้มีการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชนแต่
ที่มา:http://www.sheetram.com/lw101.asp
กฎหมายมหาชนมิได้เน้นที่ตัวบทกฎหมาย แต่เน้นที่การศึกษาปรัชญา แนวความคิด และทฤษฎีต่าง ๆ อันเป็นที่มาของหลักกฎหมายมหาชน และยังมีความเกี่ยวโยงอยู่กับแนวทางของวิชารัฐศาสตร์อยู่อีกด้วย ซึ่งนิติปรัชญาและนิติวิธีของกฎหมายมหาชนนั้นมีหลักการ แนวความคิด และวิธีวิเคราะห์ปัญหาที่แตกต่างกับกฎหมายเอกชน
ความหมายของกฎหมายมหาชน
อัลเปียน (ULPIAN) นักปราชญ์สมัยโรมันยุคคลาสสิก ได้อธิบายไว้ว่า "กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐโรมัน ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน"
ศาสตราจารย์ Maurice DUVERGER (ศ. มอริส ดูแวร์เช่) แห่งมหาวิทยาลัยปารีส ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับสถานะและอำนาจของผู้ปกครอง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง
กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎเกณฑ์ทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้อยู่ใต้ปกครองด้วยกัน"
ศาสตราจารย์ Andre de LAUBADERE (ศ. อองเดร เดอ โรมาแดร์) ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่วางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคล (Personnes Publiques) อันได้แก่ รัฐ องค์การปกครอง และรวมตลอดถึงนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนอื่น ๆ (เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล) กฎหมายมหาชนจะวางกฎเกณฑ์แก่สาธารณบุคคลในด้านองค์กร การดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลด้วยกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณบุคคลและเอกชน"
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือ ในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร
กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ในฐานะที่เท่าเทียมกัน"
ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้อธิบายไว้ว่า
"กฎหมายมหาชนนั้น อาจให้บทวิเคราะห์ศัพท์ดังนี้คือ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอันเกิดขึ้นเนื่องจาก การที่ประเทศแสดงตัวเป็นผู้บังคับปกครองในพระราชอาณาจักร โดยรักษาความสงบเรียบร้อย ระเบียบ การเก็บภาษีอากร และการที่ประเทศแสดงตัวนอกพระราชอาณาจักรเป็นผู้ทำการเกี่ยวพันกับประเทศอื่น"
รศ. ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง ได้อธิบายความหมายของกฎหมายมหาชนไว้ว่า
"กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ "สถานะและอำนาจ" ของรัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน"
จากคำอธิบายของศาสตราจารย์และนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ จึงสามารถสรุปได้ว่า "กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับการปกครอง หรือเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ"
ข้อสังเกต จากความหมายของกฎหมายมหาชนที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะไม่มีเรื่อง "การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน" หรือ "การจัดทำบริการสาธารณะ" เข้ามาเกี่ยวข้องเลย เนื่องจากว่า "การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน"
นั้นเป็นหลักการทางทฤษฎีอย่างหนึ่งในรัฐประชาธิปไตยเสรีนิยม ส่วน "การจัดทำบริการสาธารณะ" ก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์ของกฎหมายปกครอง และกฎหมายปกครองก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดากฎหมายมหาชนทั้งหลายเท่านั้น ดังนั้นการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนว่า "เป็นกฎหมายที่จะต้องสามารถควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้โดยประชาชน" หรือ "เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ" จึงเป็นการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนที่ถูกต้องแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเป็นความหมายที่ไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายมหาชนประเภทอื่นที่มิใช่กฎหมายปกครอง อาทิเช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญและยังไม่เป็นความหมายสากลอีกด้วย เนื่องจากว่าไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายมหาชนในรัฐที่ปกครองด้วยระบอบการปกครองอื่นนอกเหนือไปจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม ซึ่งรัฐอื่น ๆ เหล่านั้นมิได้มีการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชนแต่
ที่มา:http://www.sheetram.com/lw101.asp
กฎหมายลักษณะทรัพย์
กฎหมายลักษณะทรัพย์
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง ซึ่งได้แก่สิ่งซึ่งมองเห็นได้ด้วยตา จับต้องสัมผัสได้ [1] เช่น สมุด ปากกา โต๊ะ วัว รถยนต์ เป็นต้น
ทรัพย์สิน หมายถึง วัตถุมีรูปร่างและวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีค่าและอาจถือเอาได้
สังเกต คำว่า “ทรัพย์สิน” มีความหมายกว้างกว่าคำว่า “ทรัพย์”
สรุปทรัพย์สิน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.เป็นวัตถุมีรูปร่าง(คือทรัพย์)หรือเป็นวัตถุไม่มีรูปร่างก็ได้(เช่น ลิขสิทธิ์ หุ้น เช็ค โฉนด->เป็นสิ่งแสดงกรรมสิทธิ์
ไม่ได้หมายถึงใบกระดาษ)
2.มีราคา คือสิ่งนั้นมีมูลค่าในตัวของมันเอง ไม่จำเป็นต้องมีราคาที่ซื้อขายในท้องตลาด[2] เช่นจดหมายคนรักที่ติดต่อกัน แสตมป์ที่ใช้แล้ว แต่ผู้ใช้สะสมเอาไว้ ก้อนหินที่ระลึกจากยอดเขาเอเวอเรสต์ เป็นต้น
3.ถือเอาได้ คือ สามารถเข้าครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ เป็นเจ้าของได้(พระจันทร์ ดาว จึงไม่ใช่ทรัพย์สิน)
ทรัพย์ตามกฎหมาย จำแนกเป็น 2 ประเภท
1.อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน มีลักษณะเป็นการถาวร ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน อีกทั้งยังหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิเกี่ยวกับที่ดินด้วย
-ที่ดิน หมายถึง พื้นแผ่นดิน
-ทรัพย์(วัตถุอันมีรูปร่าง) ซึ่งติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น ตึก ต้นไม้ยืนต้น อนุสาวรีย์
-สิทธิเหนือที่ดินและทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิเก็บกิน ->เหล่านี้เป็นทรัพยสิทธิ
2.สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อื่นที่นอกจากอสังหาริมทรัพย์และบรรดาสิทธิทั้งหลายที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ เช่น สิทธิจำนำ สิทธิยึดหน่วง(เช่น นาย ก.เอารถยนต์ไปซ่อมที่อู่ แต่ไม่ยอมเอาเงินไปจ่ายเสียที ดังนี้ ทางอู่มีสิทธิยึดหน่วงรถไม่คืนนาย ก.ได้) ตัวอย่างของ สังหาริมทรัพย์(ทรัพย์ซึ่งนำเคลื่อนที่ไปได้) เช่น ดินสอ โต๊ะ เก้าอี้
3.สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ คือ กฎหมายได้ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่มีบทพิเศษในส่วนของทรัพย์จำพวกนี้ ได้แก่(ให้จำไว้เลย เพราะมีไม่กี่อย่างเท่านั้น) เรือนแพ(ที่ใช้อยู่อาศัย) สัตว์พาหนะ(ที่ตรารูปพรรณสัณฐานแล้ว) เรือระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป เรือกลไป เรือกำปั่น[3]
ทรัพย์ ยังแบ่งเป็น ทรัพย์ในพาณิชย์ และ ทรัพย์นอกพาณิชย์
-ทรัพย์ในพาณิชย์ คือ ทรัพย์ที่ถือเอาได้ และโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
-ทรัพย์นอกพาณิชย์ คือ ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้(ก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์) หรือ
ทรัพย์ที่ไม่อาจโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ที่ดินธรณีสงฆ์
(หากจะโอนที่สาธารณะสมบัติต้องอาศัยอำนาจจากพระราชกฤษฎีกาหรือศักดิ์สูงกว่า)
*ดอกผล คือ ประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง(ทรัพย์แม่) ดอกผลของทรัพย์ มี 2 ประเภท ได้แก่
-ดอกผลธรรมดา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยหลุดออกจากทรัพย์แม่ เช่น ผลไม้ น้ำนม ไข่ไก่ ขนสัตว์
-ดอกผลนิตินัย เป็นดอกผลในทางกฎหมาย คือ 1.เป็นทรัพย์หรือการได้รับประโยชน์
2.เจ้าของทรัพย์แม่ได้รับจากผู้อื่น
3.ผู้อื่นให้ทรัพย์หรือประโยชน์นั้นแก่เจ้าของทรัพย์แม่
เพื่อเป็นการตอบแทน ที่ได้ใช้ทรัพย์ของเจ้าของทรัพย์แม่นั้น
ดอกผลนิตินัย ได้แก่ ดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่า ค่าปันผล เป็นต้น
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
-กรณีโดยทั่วไป เช่น มีการงอกของที่ดินบริเวณชายตลิ่ง(ส่วนที่งอกออกมาย่อมเป็นกรรสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแม่ด้วย) การซื้อขายโดยปกติ กรรมสิทธิ์จะโอนทันที่เมื่อเกิดสัญญา(คำเสนอ-สนองตรงกัน) แต่ถ้ายังไม่กำหนดทรัพย์สินที่ซื้อขายไว้แน่นอน(โดยการชั่ง ตวง วัด)กรรมสิทธิ์ก็ยังไม่โอน จะโอนตราบเมื่อได้แยกไว้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว
ตัวอย่าง ซื้อข้าวสาร70กระสอบ จากจำนวนหลายกระสอบ แม้จะยังไม่ชำระราคา แต่ผู้ขายก็ได้จ้างคนขนส่งข้าวขึ้นรถบรรทุกไปส่งแก่ผู้ซื้อ อังขณะที่รถขนส่งข้าวสารไปให้ผู้ซื้อ ข้าวสารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อแล้ว[4] หากระหว่างทางรถที่ขนส่งถูกฟ้าผ่า ข้าวสารลุกไหม้ เช่นนี้ ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินค่าข้าวสาร เพราะกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว
-กรณีพิเศษ คือ ได้โดยผลทางกฎหมาย เช่น กรณีครอบครองปรปักษ์
ถาม การครอบครองปรปักษ์ คือ อะไร?
ตอบ การครอบครองปรปักษ์ คือ การครอบครองโดยเจตนายึดถือเป็นเจ้าของ โดยสงบ(ไม่ถูกเจ้าของที่แท้จริงขับไล่) และเปิดเผย(ไม่มีการปิดบังซ่อนเร้น) ทั้งผู้ครอบครองปรปักษ์อาจเป็นธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ เพื่ออ้างต่อศาลในการให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
-กรณีเป็นสังหาริมทรัพย์ 5 ปี
-กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ 10 ปี
ที่มา:planet.kapook.com/conscience/blog/viewnew/89112
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง ซึ่งได้แก่สิ่งซึ่งมองเห็นได้ด้วยตา จับต้องสัมผัสได้ [1] เช่น สมุด ปากกา โต๊ะ วัว รถยนต์ เป็นต้น
ทรัพย์สิน หมายถึง วัตถุมีรูปร่างและวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีค่าและอาจถือเอาได้
สังเกต คำว่า “ทรัพย์สิน” มีความหมายกว้างกว่าคำว่า “ทรัพย์”
สรุปทรัพย์สิน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.เป็นวัตถุมีรูปร่าง(คือทรัพย์)หรือเป็นวัตถุไม่มีรูปร่างก็ได้(เช่น ลิขสิทธิ์ หุ้น เช็ค โฉนด->เป็นสิ่งแสดงกรรมสิทธิ์
ไม่ได้หมายถึงใบกระดาษ)
2.มีราคา คือสิ่งนั้นมีมูลค่าในตัวของมันเอง ไม่จำเป็นต้องมีราคาที่ซื้อขายในท้องตลาด[2] เช่นจดหมายคนรักที่ติดต่อกัน แสตมป์ที่ใช้แล้ว แต่ผู้ใช้สะสมเอาไว้ ก้อนหินที่ระลึกจากยอดเขาเอเวอเรสต์ เป็นต้น
3.ถือเอาได้ คือ สามารถเข้าครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ เป็นเจ้าของได้(พระจันทร์ ดาว จึงไม่ใช่ทรัพย์สิน)
ทรัพย์ตามกฎหมาย จำแนกเป็น 2 ประเภท
1.อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน มีลักษณะเป็นการถาวร ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน อีกทั้งยังหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิเกี่ยวกับที่ดินด้วย
-ที่ดิน หมายถึง พื้นแผ่นดิน
-ทรัพย์(วัตถุอันมีรูปร่าง) ซึ่งติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น ตึก ต้นไม้ยืนต้น อนุสาวรีย์
-สิทธิเหนือที่ดินและทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิเก็บกิน ->เหล่านี้เป็นทรัพยสิทธิ
2.สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อื่นที่นอกจากอสังหาริมทรัพย์และบรรดาสิทธิทั้งหลายที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ เช่น สิทธิจำนำ สิทธิยึดหน่วง(เช่น นาย ก.เอารถยนต์ไปซ่อมที่อู่ แต่ไม่ยอมเอาเงินไปจ่ายเสียที ดังนี้ ทางอู่มีสิทธิยึดหน่วงรถไม่คืนนาย ก.ได้) ตัวอย่างของ สังหาริมทรัพย์(ทรัพย์ซึ่งนำเคลื่อนที่ไปได้) เช่น ดินสอ โต๊ะ เก้าอี้
3.สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ คือ กฎหมายได้ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่มีบทพิเศษในส่วนของทรัพย์จำพวกนี้ ได้แก่(ให้จำไว้เลย เพราะมีไม่กี่อย่างเท่านั้น) เรือนแพ(ที่ใช้อยู่อาศัย) สัตว์พาหนะ(ที่ตรารูปพรรณสัณฐานแล้ว) เรือระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป เรือกลไป เรือกำปั่น[3]
ทรัพย์ ยังแบ่งเป็น ทรัพย์ในพาณิชย์ และ ทรัพย์นอกพาณิชย์
-ทรัพย์ในพาณิชย์ คือ ทรัพย์ที่ถือเอาได้ และโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
-ทรัพย์นอกพาณิชย์ คือ ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้(ก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์) หรือ
ทรัพย์ที่ไม่อาจโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ที่ดินธรณีสงฆ์
(หากจะโอนที่สาธารณะสมบัติต้องอาศัยอำนาจจากพระราชกฤษฎีกาหรือศักดิ์สูงกว่า)
*ดอกผล คือ ประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง(ทรัพย์แม่) ดอกผลของทรัพย์ มี 2 ประเภท ได้แก่
-ดอกผลธรรมดา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยหลุดออกจากทรัพย์แม่ เช่น ผลไม้ น้ำนม ไข่ไก่ ขนสัตว์
-ดอกผลนิตินัย เป็นดอกผลในทางกฎหมาย คือ 1.เป็นทรัพย์หรือการได้รับประโยชน์
2.เจ้าของทรัพย์แม่ได้รับจากผู้อื่น
3.ผู้อื่นให้ทรัพย์หรือประโยชน์นั้นแก่เจ้าของทรัพย์แม่
เพื่อเป็นการตอบแทน ที่ได้ใช้ทรัพย์ของเจ้าของทรัพย์แม่นั้น
ดอกผลนิตินัย ได้แก่ ดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่า ค่าปันผล เป็นต้น
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
-กรณีโดยทั่วไป เช่น มีการงอกของที่ดินบริเวณชายตลิ่ง(ส่วนที่งอกออกมาย่อมเป็นกรรสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแม่ด้วย) การซื้อขายโดยปกติ กรรมสิทธิ์จะโอนทันที่เมื่อเกิดสัญญา(คำเสนอ-สนองตรงกัน) แต่ถ้ายังไม่กำหนดทรัพย์สินที่ซื้อขายไว้แน่นอน(โดยการชั่ง ตวง วัด)กรรมสิทธิ์ก็ยังไม่โอน จะโอนตราบเมื่อได้แยกไว้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว
ตัวอย่าง ซื้อข้าวสาร70กระสอบ จากจำนวนหลายกระสอบ แม้จะยังไม่ชำระราคา แต่ผู้ขายก็ได้จ้างคนขนส่งข้าวขึ้นรถบรรทุกไปส่งแก่ผู้ซื้อ อังขณะที่รถขนส่งข้าวสารไปให้ผู้ซื้อ ข้าวสารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อแล้ว[4] หากระหว่างทางรถที่ขนส่งถูกฟ้าผ่า ข้าวสารลุกไหม้ เช่นนี้ ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินค่าข้าวสาร เพราะกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว
-กรณีพิเศษ คือ ได้โดยผลทางกฎหมาย เช่น กรณีครอบครองปรปักษ์
ถาม การครอบครองปรปักษ์ คือ อะไร?
ตอบ การครอบครองปรปักษ์ คือ การครอบครองโดยเจตนายึดถือเป็นเจ้าของ โดยสงบ(ไม่ถูกเจ้าของที่แท้จริงขับไล่) และเปิดเผย(ไม่มีการปิดบังซ่อนเร้น) ทั้งผู้ครอบครองปรปักษ์อาจเป็นธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ เพื่ออ้างต่อศาลในการให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
-กรณีเป็นสังหาริมทรัพย์ 5 ปี
-กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ 10 ปี
ที่มา:planet.kapook.com/conscience/blog/viewnew/89112
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั่วไป
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นกฎหมายหลักสำคัญที่ถูกนำมาใช้โดยทั่วไปในขณะนี้ และมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชน ซึ่งในส่วนของกฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่ได้รวบรวมหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติในเรื่องของการอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคม โดยได้รวมเอาเรื่องที่ประชาชนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในสังคม มารวบรวมเอาไว้เข้าด้วยกัน เช่น เกี่ยวกับเรื่องของสิทธิ หน้าที่ของบุคคลทั่วไป เกี่ยวกับการตกลงกัน การทำสัญญา การซื้อการขาย การให้ทรัพย์สิน เรื่องทรัพย์มรดก เรื่องของความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เป็นต้น
ในส่วนของกฎหมายแพ่งและพาณชิย์ สามารถแยกรายละเอียดเพื่อทำความเข้าใจที่ชัดเจนได้ ดังนี้คือ
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของ สิทธิ หน้าที่ ของคนเราโดยทั่วไป เจ้ากฎหมายที่ว่านี้ก็ได้เข้ามาวางระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยเข้ามากำหนดว่า บุคคลคนๆ หนึ่งจะมีสิทธิตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อใด แล้วจะสิ้นสุดลงเมื่อใด และในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ของบุคคลคนๆ นั้นจะสามารถใช้สิทธิได้อย่างไรบ้าง เช่น การจะถือว่าเรามีสภาพของความเป็นคนได้ ก็ต่อเมื่อคลอดออกมาจากท้องแม่แล้วสามารถอยู่รอดเป็นทารก แล้วไปสิ้นสุดสภาพของความเป็นคน เมื่อเราได้ตายไป หรือเด็กย่อมจะอยู่ในความดูแลเลี้ยงดูของพ่อแม่ เด็กจะไปทำสัญญาใดๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมของพ่อแม่ ย่อมไม่มีผลสมบูรณ์ อย่างนี้เป็นต้น
กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของ การค้าการขาย ซึ่งเป็นในเชิงของการพาณิชย์โดยทั่วไป โดยได้รวมเอาเรื่องของหลักเกณฑ์ของข้อตกลงต่างๆ หลักเกณฑ์การทำสัญญาแต่ละชนิดมาไว้ด้วยกัน เพื่อง่ายต่อการศึกษา รวมทั้งการบังคับใช้ โดยกฎหมายได้เข้ามาวางหลักเกณฑ์ แบบของสัญญาที่จะต้องทำ หลักฐานประกอบที่ต้องมี เช่น เรื่องของการซื้อขาย จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อผู้ที่ต้องรับผิด หรือการซื้อขายที่ดิน ก็ต้องทำเป็นหนังสือและต้องไปจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ อย่างนี้เป็นต้น เหตุที่กฎหมายต้องกำหนดเรื่องต่างๆ เอาไว้ ก็เนื่องมาจากคนเราต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม แล้วในสังคมหนึ่งๆ นั้น ก็มีผู้คนอยู่มากมายหลากหลาย ต่างนิสัย ต่างความคิด บางคนก็เป็นคนดี บางคนก็มีนิสัยที่เอาเปรียบมีความประพฤติที่ชั่วร้าย อีกทั้งบางคนก็ฉลาดหลักแหลม และอีกคนก็อาจจะโง่เขลา ซึ่งในสังคมที่ว่านี้ก็ต้องมีการติดต่อปฏิสัมพันธ์กันอยู่ด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้หากผู้คนอยู่ร่วมกันโดยไม่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับใดๆ แล้ว ความวุ่นวายคงจะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากคนที่มีความคิดที่ไม่ดี คนที่ไม่ซื่อที่จ้องแต่จะเอารัดเอาเปรียบ ค่อยมองหาช่องที่จะคดโกงเอาผลประโยชน์จากผู้อื่นมาเป็นของตนอยู่เสมอเมื่อมีโอกาส เมื่อเป็นเอย่างนี้สังคมก็ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ได้ ดังนั้นเมื่อเราต้องการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการควบคุมให้เรื่องหนึ่งๆเป็นไปบนบรรทัดฐานเดียวกัน ฉะนั้นเจ้ากฎหมายที่ว่านี้ ก็เป็นตัวเลือกที่นำมาแก้ไขและเยียวยาในเรื่องที่ว่านี้
สุรปแล้ว ทุกวันนี้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กลายเป็นกฎหมายที่สำคัญ มีบทบาทในฐานะของกฎเกณฑ์ที่ทำให้สังคมของเราอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ดีงาม และเป็นสิ่งที่ถูกต้องอันควรได้รับการยกย่องเสมอ
ที่มา:http://www.chawbanlaw.com/bq_law/folder_bg_1/bkg_1_1.html
ในส่วนของกฎหมายแพ่งและพาณชิย์ สามารถแยกรายละเอียดเพื่อทำความเข้าใจที่ชัดเจนได้ ดังนี้คือ
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของ สิทธิ หน้าที่ ของคนเราโดยทั่วไป เจ้ากฎหมายที่ว่านี้ก็ได้เข้ามาวางระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยเข้ามากำหนดว่า บุคคลคนๆ หนึ่งจะมีสิทธิตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อใด แล้วจะสิ้นสุดลงเมื่อใด และในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ของบุคคลคนๆ นั้นจะสามารถใช้สิทธิได้อย่างไรบ้าง เช่น การจะถือว่าเรามีสภาพของความเป็นคนได้ ก็ต่อเมื่อคลอดออกมาจากท้องแม่แล้วสามารถอยู่รอดเป็นทารก แล้วไปสิ้นสุดสภาพของความเป็นคน เมื่อเราได้ตายไป หรือเด็กย่อมจะอยู่ในความดูแลเลี้ยงดูของพ่อแม่ เด็กจะไปทำสัญญาใดๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมของพ่อแม่ ย่อมไม่มีผลสมบูรณ์ อย่างนี้เป็นต้น
กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของ การค้าการขาย ซึ่งเป็นในเชิงของการพาณิชย์โดยทั่วไป โดยได้รวมเอาเรื่องของหลักเกณฑ์ของข้อตกลงต่างๆ หลักเกณฑ์การทำสัญญาแต่ละชนิดมาไว้ด้วยกัน เพื่อง่ายต่อการศึกษา รวมทั้งการบังคับใช้ โดยกฎหมายได้เข้ามาวางหลักเกณฑ์ แบบของสัญญาที่จะต้องทำ หลักฐานประกอบที่ต้องมี เช่น เรื่องของการซื้อขาย จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อผู้ที่ต้องรับผิด หรือการซื้อขายที่ดิน ก็ต้องทำเป็นหนังสือและต้องไปจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ อย่างนี้เป็นต้น เหตุที่กฎหมายต้องกำหนดเรื่องต่างๆ เอาไว้ ก็เนื่องมาจากคนเราต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม แล้วในสังคมหนึ่งๆ นั้น ก็มีผู้คนอยู่มากมายหลากหลาย ต่างนิสัย ต่างความคิด บางคนก็เป็นคนดี บางคนก็มีนิสัยที่เอาเปรียบมีความประพฤติที่ชั่วร้าย อีกทั้งบางคนก็ฉลาดหลักแหลม และอีกคนก็อาจจะโง่เขลา ซึ่งในสังคมที่ว่านี้ก็ต้องมีการติดต่อปฏิสัมพันธ์กันอยู่ด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้หากผู้คนอยู่ร่วมกันโดยไม่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับใดๆ แล้ว ความวุ่นวายคงจะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากคนที่มีความคิดที่ไม่ดี คนที่ไม่ซื่อที่จ้องแต่จะเอารัดเอาเปรียบ ค่อยมองหาช่องที่จะคดโกงเอาผลประโยชน์จากผู้อื่นมาเป็นของตนอยู่เสมอเมื่อมีโอกาส เมื่อเป็นเอย่างนี้สังคมก็ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ได้ ดังนั้นเมื่อเราต้องการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการควบคุมให้เรื่องหนึ่งๆเป็นไปบนบรรทัดฐานเดียวกัน ฉะนั้นเจ้ากฎหมายที่ว่านี้ ก็เป็นตัวเลือกที่นำมาแก้ไขและเยียวยาในเรื่องที่ว่านี้
สุรปแล้ว ทุกวันนี้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กลายเป็นกฎหมายที่สำคัญ มีบทบาทในฐานะของกฎเกณฑ์ที่ทำให้สังคมของเราอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ดีงาม และเป็นสิ่งที่ถูกต้องอันควรได้รับการยกย่องเสมอ
ที่มา:http://www.chawbanlaw.com/bq_law/folder_bg_1/bkg_1_1.html
ประเภทของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งแยกประเภทกฎหมายที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะแห่งการใช้ เป็นการแบ่งแยกโดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้กฎหมายเป็นหลัก ได้แก่
-กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาหรือเรื่องทั่วๆไป เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมความประพฤติรวมไปถึงกำหนดสิทธิและหน้าที่ต่างๆของพลเมืองไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา
-กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการหรือวิธีการที่จะบังคับหรือดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัตินั่นเอง ได้แก่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฯลฯ ตัวอย่างเช่นในประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่าผู้ใดฆ่าผู้อื่นผู้นั้นมีความผิด แต่ไม่ได้กำหนดว่ามีจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อย่างไร ไม่มีขั้นตอนการดำเนินการกำหนดไว้ เราก็ต้องอาศัยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เราอาจเปรียบเทียบเป็นตัวอย่างง่ายๆได้ว่า หากเราเปรียบเทียบว่ากฎหมายสารบัญญัติเปรียบได้กับเครื่องกรองน้ำที่ใช้ในการกรองน้ำให้สะอาด กฎหมายวิธีสบัญญัติก็จะหมายถึงวิธีการใช้เครื่องกรองน้ำนั้นหรือกระบวนการการทำงานของเครื่องกรองน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของน้ำสะอาดให้เราใช้ดื่มกินนั่นเอง ถ้าเราไม่รู้วิธีใช้หรือไม่มีกระบวนการการกรองน้ำติดตั้งอยู่ในเครื่อง เราก็จะทำการกรองน้ำให้สะอาดไม่ได้ เช่นเดียวกันนี้ถ้าไม่มีกฎหมายวิธีสบัญญัติ การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติก็จะทำได้ยาก เพราะไม่มีแบบแผนและวิธีการแน่นอน ขาดความเป็นระเบียบและไร้ประสิทธิภาพ
2.แบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณี ได้แก่
-กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง ซึ่งกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ของแต่ละเอกชน รวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ของเอกชนที่มีต่อเอกชนด้วยกันด้วย กฎหมายเอกชนก็ได้แก่กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์ กฎหมายแพ่งจะกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่รวมไปถึงความสัมพันธ์ของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย ส่วนกฎหมายพาณิชย์ก็จะกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลที่เข้ามามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อกัน เช่น กำหนดถึงสิทธิแบะหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาซื้อขาย คู่สัญญากู้ยืมเงิน ฯลฯ
-กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างรํฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าที่ของรัฐกับประชาชน เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
-กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศต่างๆในโลกต้องมีการติดต่อมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ทั้งในการค้า เศรษฐกิจ และการประสานงานช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศอาจมาในรูปของสนธิสัญญา จารีตประเพณีหรือความตกลงกันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศอาจไม่มีสภาพบังคับที่ชัดเจน แต่ก็ถือเป็นกฎหมายได้ เนื่องจากเป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐ เช่นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ฯลฯ
วิวัฒนาการกฎหมายในประเทศไทย
วิวัฒนาการกฎหมายในประเทศไทย
เดิมกฎหมายของประเทศไทยนั้นมีที่มาจากจารีตประเพณี ศาสนา รวมไปถึงพระราชโองการของพระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชศาสตร์” ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยหลักใน “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์” จนกระทั่งการเสียเมืองครั้งที่ 2 ให้แก่ประเทศพม่า เอกสารสำคัญทางกฎหมายได้มีการถูกทำลายและสูญหายไปเป็นจำนวนมาก ต่อมาในสมัยของรัชการที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แม้จะมีการรวบรวมกฎหมายขึ้นใหม่แต่ก็เหลือเพียงหนึ่งในสิบของกฎหมายที่มีอยู่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถตัดสินคดีได้อย่างยุติธรรม รัชกาลที่ 1 จึงทรงชำระสะสางกฎหมายเสียใหม่กลายเป็น “กฎหมายตราสามดวง” ถือเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญของไทยเรา นักวิชาการทั้งหลายถือว่าแม้จริงแล้วกฎหมายตราสามดวงนี้ก็คือกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
คดีสำคัญที่ก่อให้เกิดกฎหมายตราสามดวงก็คือ “คดีอำแดงป้อม” (อำแดง เป็นคำนำหน้าชื่อของผู้หญิงในสมัยก่อน) คดีนี้มีข้อเท็จจริงคือ นายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษพระเกษมและนายราชาอรรถ เนื่องจาก อำแดงป้อม ภรรยาของนายบุญศรีเป็นชู้กับ นายราชาอรรถ แต่อำแดงป้อมกลับมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่พระเกษมกลับพิจารณาเข้าข้างอำแดงป้อมแล้วคัดข้อความส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีคำตัดสินให้อำแดงป้อมกับนายบุญศรีขาดจากการเป็นสามีภรรยาตามกฎหมาย เมื่อรัชการที่ 1 ทรงทราบเรื่องจึงตรัสว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษากันแแล้วให้หย่าตามคำฟ้องนั้นไม่เป็นการยุติธรรม จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งให้เจ้าพระยาคลังตรวจสอบกฎหมายดังกล่าว ปรากฎได้ความว่า ชายไม่ผิด หญิงมาขอหย่า ก็สามารถหย่าได้(ตามที่บันทึกใช้คำว่า ชายหาผิดมิได้หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชายหย่าได้) จึงทรงเห็นว่าแม้แต่พระไตรปิฎกผิดเพี้ยนไป ก็ยังอาราธนาพระราชาคณะทั้งปวงให้ทำสังคายนาชำระพระไตรปิฎกให้ถูกต้องได้ ดังนั้นเมื่อกฎหมายผิดเพี้ยนไปก็ควรต้องชำระสะสางให้ถูกต้อง พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรกกระหม่อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 ลูกขุน 3 ราชบัณฑิต 4 จัดการชำระบทกฎหมายให้ถูกต้อง โดยอาศัย “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์”(เชื่อกันว่าเป็นคัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ หรือผู้มีอำนาจเหนือคนธรรมดาแต่งขึ้น เดิมนั้นเป็นของชาวฮินดู เป็นหนังสือในศาสนาพราห์ม) เป็นหลักในการบัญญัติกฎหมาย เช่นเดียวกับในสมัยกรุงศรีอยุธยา เกิดเป็นกฎหมายตราสามดวงขึ้น
ในเวลาต่อมาเกิดการล่าอาณานิคมจากประเทศซีกโลกตะวันตก เช่น ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ ทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นก็คือการเสียเอกราชทางศาล เนื่องจากต่างประเทศเห็นว่าประเทศไทยเรากฎหมายป่าเถื่อน ไม่เป็นธรรม เมื่อมีปัญหาหรือคดีเกิดขึ้นก็จะไม่ยอมขึ้นศาลไทย และบีบบังคับให้รัฐบาลของไทยทำสนธิสัญญาซึ่งเรียกว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ได้มีการจัดตั้งศาลกงศุล และศาลต่างประเทศขึ้นเพื่อใช้ในการพิจารณาคดีสำหรับคนชาตินั้นๆโดยเฉพาะ ไม่ใช้กฎหมายของไทยและไม่ขึ้นศาลไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะนำเอาเอกราชทางศาลกลับคืนมา โดยการแก้ไขกฎหมายให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ จึงได้มีส่งข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษากฎหมายที่ต่างประเทศเพื่อนำความรู้มาพัฒนากฎหมาย รวมถึงจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการตรวจแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายขึ้นใหม่ โดยตั้งตณะกรรมการซึ่งมีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) เป็นประธาน โดยร่างประมวลกฎหมายอาญาเสร็จก่อน(ในสมัยนั้นคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127) อีกทั้งได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นร่างกฎหมายอื่นๆด้วย ต่อมาในสมัยรัชการที่ 6 ก็ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และปรกาศใช้ในปี พ.ศ.2468 แรกเริ่มเดิมทีมีเพียง 2 บรรพ คือบรรพ 1 ว่าด้วยบทเบ็ดเสร็จทั่วไป และบรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ หลังจากนั้นก็มีการร่างบรรพอื่นๆขึ้นจนครบ 6 บรรพในภายหลัง
ในการปฏิรูประบบกฎหมายจากระบบเดิมที่ล้าสมัยมาเป็นระบบใหม่นั้น ไทยได้รับเอาระบบซีวิล ลอว์มาใช้ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ฝรั่งเศสและเยอรมันใช้กัน โดยระบบนี้มีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรโรมัน เริ่มแรกเดิมทีนั้นคณะกรรมการร่างกฎหมายประสงค์ที่จะนำเอาระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์มาใช้บังคับ แต่เนื่องจากระบบกฎหมายนี้เป็นระบบกฎหมายที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เพราะระบบกฎหมายนี้เป็นระบบกฎหมายที่พัฒนามาเป็นเวลาช้านานจากจารีตประเพณีและระบบสังคมโดยเฉพาะ ตัวบทกฎหมายก็ไม่มีการรวบรวมเอาไว้เป็นหมวดหมู่ทำให้ยากแก่การศึกษา ซึ่งแตกต่างกับระบบซีวิล ลอว์ ที่มีการรวบรวมกฎหมายไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ ทำให้ง่ายแก่การศึกษาและนำมาใช้เป็นแบบอย่าง อีกทั้งประเทศส่วนใหญ่นอกจากฝรั่งเศสและเยอรมันแล้ว ต่างก็ใช้ระบบกฎหมายนี้ทั้งสิ้ง การที่ประเทศไทยใช้ระบบเดียวกับนานาประเทศก็จะทำให้กฎหมายของไทยมีความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ไทยอาจได้รับเอกราชทางศาลคืนได้ง่ายขึ้น
ดังนั้นประเทศไทยจึงนำเอาระบบซิวิล ลอว์มาใช้ โดยนำกฎหมายของประเทศอื่นๆมาผสานเข้ากันกับกฎหมายไทยดั้งเดิม และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ จนในที่สุดก็ได้รับเอกราชทางศาลคืนมา และกฎหมายไทยก็ยังมีการพัฒนาขึ้นมาอีกเรื่อยๆเพื่อสามารถใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้ จนถึงปัจจุบัน
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/knownledgelaw/2007/09/01/entry-2
เดิมกฎหมายของประเทศไทยนั้นมีที่มาจากจารีตประเพณี ศาสนา รวมไปถึงพระราชโองการของพระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชศาสตร์” ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยหลักใน “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์” จนกระทั่งการเสียเมืองครั้งที่ 2 ให้แก่ประเทศพม่า เอกสารสำคัญทางกฎหมายได้มีการถูกทำลายและสูญหายไปเป็นจำนวนมาก ต่อมาในสมัยของรัชการที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แม้จะมีการรวบรวมกฎหมายขึ้นใหม่แต่ก็เหลือเพียงหนึ่งในสิบของกฎหมายที่มีอยู่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถตัดสินคดีได้อย่างยุติธรรม รัชกาลที่ 1 จึงทรงชำระสะสางกฎหมายเสียใหม่กลายเป็น “กฎหมายตราสามดวง” ถือเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญของไทยเรา นักวิชาการทั้งหลายถือว่าแม้จริงแล้วกฎหมายตราสามดวงนี้ก็คือกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
คดีสำคัญที่ก่อให้เกิดกฎหมายตราสามดวงก็คือ “คดีอำแดงป้อม” (อำแดง เป็นคำนำหน้าชื่อของผู้หญิงในสมัยก่อน) คดีนี้มีข้อเท็จจริงคือ นายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษพระเกษมและนายราชาอรรถ เนื่องจาก อำแดงป้อม ภรรยาของนายบุญศรีเป็นชู้กับ นายราชาอรรถ แต่อำแดงป้อมกลับมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่พระเกษมกลับพิจารณาเข้าข้างอำแดงป้อมแล้วคัดข้อความส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีคำตัดสินให้อำแดงป้อมกับนายบุญศรีขาดจากการเป็นสามีภรรยาตามกฎหมาย เมื่อรัชการที่ 1 ทรงทราบเรื่องจึงตรัสว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษากันแแล้วให้หย่าตามคำฟ้องนั้นไม่เป็นการยุติธรรม จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งให้เจ้าพระยาคลังตรวจสอบกฎหมายดังกล่าว ปรากฎได้ความว่า ชายไม่ผิด หญิงมาขอหย่า ก็สามารถหย่าได้(ตามที่บันทึกใช้คำว่า ชายหาผิดมิได้หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชายหย่าได้) จึงทรงเห็นว่าแม้แต่พระไตรปิฎกผิดเพี้ยนไป ก็ยังอาราธนาพระราชาคณะทั้งปวงให้ทำสังคายนาชำระพระไตรปิฎกให้ถูกต้องได้ ดังนั้นเมื่อกฎหมายผิดเพี้ยนไปก็ควรต้องชำระสะสางให้ถูกต้อง พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรกกระหม่อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 ลูกขุน 3 ราชบัณฑิต 4 จัดการชำระบทกฎหมายให้ถูกต้อง โดยอาศัย “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์”(เชื่อกันว่าเป็นคัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ หรือผู้มีอำนาจเหนือคนธรรมดาแต่งขึ้น เดิมนั้นเป็นของชาวฮินดู เป็นหนังสือในศาสนาพราห์ม) เป็นหลักในการบัญญัติกฎหมาย เช่นเดียวกับในสมัยกรุงศรีอยุธยา เกิดเป็นกฎหมายตราสามดวงขึ้น
ในเวลาต่อมาเกิดการล่าอาณานิคมจากประเทศซีกโลกตะวันตก เช่น ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ ทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นก็คือการเสียเอกราชทางศาล เนื่องจากต่างประเทศเห็นว่าประเทศไทยเรากฎหมายป่าเถื่อน ไม่เป็นธรรม เมื่อมีปัญหาหรือคดีเกิดขึ้นก็จะไม่ยอมขึ้นศาลไทย และบีบบังคับให้รัฐบาลของไทยทำสนธิสัญญาซึ่งเรียกว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ได้มีการจัดตั้งศาลกงศุล และศาลต่างประเทศขึ้นเพื่อใช้ในการพิจารณาคดีสำหรับคนชาตินั้นๆโดยเฉพาะ ไม่ใช้กฎหมายของไทยและไม่ขึ้นศาลไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะนำเอาเอกราชทางศาลกลับคืนมา โดยการแก้ไขกฎหมายให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ จึงได้มีส่งข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษากฎหมายที่ต่างประเทศเพื่อนำความรู้มาพัฒนากฎหมาย รวมถึงจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการตรวจแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายขึ้นใหม่ โดยตั้งตณะกรรมการซึ่งมีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) เป็นประธาน โดยร่างประมวลกฎหมายอาญาเสร็จก่อน(ในสมัยนั้นคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127) อีกทั้งได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นร่างกฎหมายอื่นๆด้วย ต่อมาในสมัยรัชการที่ 6 ก็ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และปรกาศใช้ในปี พ.ศ.2468 แรกเริ่มเดิมทีมีเพียง 2 บรรพ คือบรรพ 1 ว่าด้วยบทเบ็ดเสร็จทั่วไป และบรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ หลังจากนั้นก็มีการร่างบรรพอื่นๆขึ้นจนครบ 6 บรรพในภายหลัง
ในการปฏิรูประบบกฎหมายจากระบบเดิมที่ล้าสมัยมาเป็นระบบใหม่นั้น ไทยได้รับเอาระบบซีวิล ลอว์มาใช้ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ฝรั่งเศสและเยอรมันใช้กัน โดยระบบนี้มีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรโรมัน เริ่มแรกเดิมทีนั้นคณะกรรมการร่างกฎหมายประสงค์ที่จะนำเอาระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์มาใช้บังคับ แต่เนื่องจากระบบกฎหมายนี้เป็นระบบกฎหมายที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เพราะระบบกฎหมายนี้เป็นระบบกฎหมายที่พัฒนามาเป็นเวลาช้านานจากจารีตประเพณีและระบบสังคมโดยเฉพาะ ตัวบทกฎหมายก็ไม่มีการรวบรวมเอาไว้เป็นหมวดหมู่ทำให้ยากแก่การศึกษา ซึ่งแตกต่างกับระบบซีวิล ลอว์ ที่มีการรวบรวมกฎหมายไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ ทำให้ง่ายแก่การศึกษาและนำมาใช้เป็นแบบอย่าง อีกทั้งประเทศส่วนใหญ่นอกจากฝรั่งเศสและเยอรมันแล้ว ต่างก็ใช้ระบบกฎหมายนี้ทั้งสิ้ง การที่ประเทศไทยใช้ระบบเดียวกับนานาประเทศก็จะทำให้กฎหมายของไทยมีความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ไทยอาจได้รับเอกราชทางศาลคืนได้ง่ายขึ้น
ดังนั้นประเทศไทยจึงนำเอาระบบซิวิล ลอว์มาใช้ โดยนำกฎหมายของประเทศอื่นๆมาผสานเข้ากันกับกฎหมายไทยดั้งเดิม และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ จนในที่สุดก็ได้รับเอกราชทางศาลคืนมา และกฎหมายไทยก็ยังมีการพัฒนาขึ้นมาอีกเรื่อยๆเพื่อสามารถใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้ จนถึงปัจจุบัน
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/knownledgelaw/2007/09/01/entry-2
ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของกฎหมาย
1.ศีลธรรม คือกฎเกณฑ์ของความประพฤติ คำๆนี้ฟังเข้าใจง่ายแต่อธิบายออกมาได้ยากมาก เพราะเป็นสิ่งที่แต่ละคนเข้าใจได้ในตัวเองและมีความหมายที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สภาพแวดล้อม ฯลฯ แต่อย่างไรก็ความหมายของศีลธรรมของแต่ละคนก็จะมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน แม้อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่โดยหลักแล้วก็จะหมายถึง ความรู้สึกผิดชอบหรือความดีงามต่างๆที่ทำให้คนเราสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้โดยสงบสุข ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายจึงต้องใช้ศีลธรรมเป็นรากฐาน เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมให้มากที่สุดนั่นเอง
2.จารีตประเพณี คือแบบแผนที่คนในสังคมยอมรับและถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน แต่ละสังคมก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่สภาพแวดล้อม ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ เช่นเดียวกับศีลธรรม การกระทำที่ฝ่าฝืนต่อจารีตประเพณี คนในสังคมนั้นๆก็จะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่สมควรกระทำ จึงนำมาใช้เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมาย เนื่องจากเป็นสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆยอมรับ ตัวอย่างที่สำคัญก็คือกฎหมายในประเทศอังกฤษนั้น ผู้พิพากษาจะใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษา ซึ่งคำพิพากษานั้นถือเป็นกฎหมาย ส่วนประเทศอื่นๆก็มีการนำจารีตประเพณีมาใช้เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมายเช่นกัน เช่นกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องของการหมั้น การแบ่งมรดก ฯลฯ
3.ศาสนา คือหลักการดำเนินชีวิตหรือข้อบังคับที่ศาสดาของแต่ละศาสนาบัญญัติขึ้นเพื่อสอนให้คนทุกคนเป็นคนดี เมื่อพูดถึงศาสนาเราก็อาจนึกไปถึงศีลธรรม เพราะสองคำนี้มักจะมาคู่กัน แต่คำว่าศีลธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าคำว่าศาสนา เพราะศีลธรรมอาจหมายความรวมเอาหลักคำสอนของทุกศาสนามารวมไว้และความดีงามต่างๆไว้ในคำๆเดียวกัน เมื่อเรากล่าวถึงคำสอนของศาสนาอิสลาม นั่นหมายถึงศีลธรรม เมื่อเรากล่าวถึงคำสอนของศาสนาพุทธ นั่นหมายถึงเรากล่าวถึงศีลธรรมเช่นกัน กฎหมายของแต่ละประเทศก็จะบัญญัติขึ้นโดยอาศัยศาสนาเป็นรากฐานด้วย เช่นในประเทศไทยเราในทางอาญาก็จะนำศีล 5 มาใช้ในการบัญญัติกฎหมาย เช่นห้ามฆ่าผู้อื่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
4.คำพิพากษาของศาล มีเฉพาะบางประเทศเท่านั้นที่ถือเอาคำพิพากษาของศาลมาจัดทำเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศอังกฤษ คือใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษาคดีและเพื่อไม่ให้มีกรณีเดียวกันนี้เกิดขึ้นซ้ำอีกก็จะนำคำพิพากษานั้นมาจัดทำเป็นกฎหมายเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตาม หากมีคดีที่มีข้อเท็จจริงเหมือนกันเกิดขึ้นอีก ศาลก็จะตัดสินเหมือนกับคดีก่อนๆ แต่ในหลายๆประเทศคำพิพากษาเป็นเพียงแนวทางในการพิจารณาพิพากษาของศาลเท่านั้น ศาลอาจใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาต่างจากคดีก่อนๆได้ จึงไม่ถือคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศไทยเราเป็นต้น
5.หลักความยุติธรรม(Equity) หลักความยุติธรรมนี้จะต้องมาควบคู่กับกฎหมายเสมอ เพียงแต่ความยุติธรรมของแต่ละคนก็อาจไม่เท่ากัน แต่อย่างไรก็ดีผู้บัญญัติและผู้ใช้กฎหมายก็จะต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรมด้วยและความยุติธรรมนี้ควรจะอยู่ในระดับที่คนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับ เพราะถ้าเป็นความยุติธรรมโดยคำนึงถึงคนส่วนน้อยมากกว่า ก็จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรมแก่สังคมโดยแท้จริง ตัวอย่างที่สำคัญคือ ในอังกฤษนั้นแต่ก่อนการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นจะฟ้องเรียกได้เฉพาะจำนวนเงินเท่านั้น จะฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไม่ได้ จึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย เนื่องจากในบางรายผู้เสียไม่ได้ต้องการเงินค่าเสียหาย แต่ต้องการให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำต่อกัน ดังนั้นจึงได้มีการนำเอาหลักความยุติธรรมาใช้โดยอนุญาตให้มีการชำระหนี้โดยการปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ตามความมุ่งหมายของผู้ที่เสียหายได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดียิ่งขึ้น
6.ความคิดเห็นของนักปราชญ์ ก็คือผู้ทรงความรู้ในทางกฎหมายนั่นเอง อาจจะเป็นนักวิชาการ หรืออาจารย์สอนกฎหมายก็ตาม เนื่องจากนักปราชญ์เหล่านี้จะเป็นผู้ค้นคว้าหลักการและทฤษฎีต่างๆเพื่อสนับสนุนหรือโต้แย้งกฎหมายหรือคำพิพากษาของศาลอยู่เสมอ ทำให้เกิดหลักการหรือทฤษฎีใหม่ๆที่เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายได้ เช่น แนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ ในประเทศรัสเซีย ฯลฯ
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/knownledgelaw/2007/09/01/entry-2
1.ศีลธรรม คือกฎเกณฑ์ของความประพฤติ คำๆนี้ฟังเข้าใจง่ายแต่อธิบายออกมาได้ยากมาก เพราะเป็นสิ่งที่แต่ละคนเข้าใจได้ในตัวเองและมีความหมายที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สภาพแวดล้อม ฯลฯ แต่อย่างไรก็ความหมายของศีลธรรมของแต่ละคนก็จะมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน แม้อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่โดยหลักแล้วก็จะหมายถึง ความรู้สึกผิดชอบหรือความดีงามต่างๆที่ทำให้คนเราสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้โดยสงบสุข ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายจึงต้องใช้ศีลธรรมเป็นรากฐาน เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมให้มากที่สุดนั่นเอง
2.จารีตประเพณี คือแบบแผนที่คนในสังคมยอมรับและถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน แต่ละสังคมก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่สภาพแวดล้อม ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ เช่นเดียวกับศีลธรรม การกระทำที่ฝ่าฝืนต่อจารีตประเพณี คนในสังคมนั้นๆก็จะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่สมควรกระทำ จึงนำมาใช้เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมาย เนื่องจากเป็นสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆยอมรับ ตัวอย่างที่สำคัญก็คือกฎหมายในประเทศอังกฤษนั้น ผู้พิพากษาจะใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษา ซึ่งคำพิพากษานั้นถือเป็นกฎหมาย ส่วนประเทศอื่นๆก็มีการนำจารีตประเพณีมาใช้เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมายเช่นกัน เช่นกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องของการหมั้น การแบ่งมรดก ฯลฯ
3.ศาสนา คือหลักการดำเนินชีวิตหรือข้อบังคับที่ศาสดาของแต่ละศาสนาบัญญัติขึ้นเพื่อสอนให้คนทุกคนเป็นคนดี เมื่อพูดถึงศาสนาเราก็อาจนึกไปถึงศีลธรรม เพราะสองคำนี้มักจะมาคู่กัน แต่คำว่าศีลธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าคำว่าศาสนา เพราะศีลธรรมอาจหมายความรวมเอาหลักคำสอนของทุกศาสนามารวมไว้และความดีงามต่างๆไว้ในคำๆเดียวกัน เมื่อเรากล่าวถึงคำสอนของศาสนาอิสลาม นั่นหมายถึงศีลธรรม เมื่อเรากล่าวถึงคำสอนของศาสนาพุทธ นั่นหมายถึงเรากล่าวถึงศีลธรรมเช่นกัน กฎหมายของแต่ละประเทศก็จะบัญญัติขึ้นโดยอาศัยศาสนาเป็นรากฐานด้วย เช่นในประเทศไทยเราในทางอาญาก็จะนำศีล 5 มาใช้ในการบัญญัติกฎหมาย เช่นห้ามฆ่าผู้อื่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
4.คำพิพากษาของศาล มีเฉพาะบางประเทศเท่านั้นที่ถือเอาคำพิพากษาของศาลมาจัดทำเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศอังกฤษ คือใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษาคดีและเพื่อไม่ให้มีกรณีเดียวกันนี้เกิดขึ้นซ้ำอีกก็จะนำคำพิพากษานั้นมาจัดทำเป็นกฎหมายเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตาม หากมีคดีที่มีข้อเท็จจริงเหมือนกันเกิดขึ้นอีก ศาลก็จะตัดสินเหมือนกับคดีก่อนๆ แต่ในหลายๆประเทศคำพิพากษาเป็นเพียงแนวทางในการพิจารณาพิพากษาของศาลเท่านั้น ศาลอาจใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาต่างจากคดีก่อนๆได้ จึงไม่ถือคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศไทยเราเป็นต้น
5.หลักความยุติธรรม(Equity) หลักความยุติธรรมนี้จะต้องมาควบคู่กับกฎหมายเสมอ เพียงแต่ความยุติธรรมของแต่ละคนก็อาจไม่เท่ากัน แต่อย่างไรก็ดีผู้บัญญัติและผู้ใช้กฎหมายก็จะต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรมด้วยและความยุติธรรมนี้ควรจะอยู่ในระดับที่คนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับ เพราะถ้าเป็นความยุติธรรมโดยคำนึงถึงคนส่วนน้อยมากกว่า ก็จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรมแก่สังคมโดยแท้จริง ตัวอย่างที่สำคัญคือ ในอังกฤษนั้นแต่ก่อนการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นจะฟ้องเรียกได้เฉพาะจำนวนเงินเท่านั้น จะฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไม่ได้ จึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย เนื่องจากในบางรายผู้เสียไม่ได้ต้องการเงินค่าเสียหาย แต่ต้องการให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำต่อกัน ดังนั้นจึงได้มีการนำเอาหลักความยุติธรรมาใช้โดยอนุญาตให้มีการชำระหนี้โดยการปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ตามความมุ่งหมายของผู้ที่เสียหายได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดียิ่งขึ้น
6.ความคิดเห็นของนักปราชญ์ ก็คือผู้ทรงความรู้ในทางกฎหมายนั่นเอง อาจจะเป็นนักวิชาการ หรืออาจารย์สอนกฎหมายก็ตาม เนื่องจากนักปราชญ์เหล่านี้จะเป็นผู้ค้นคว้าหลักการและทฤษฎีต่างๆเพื่อสนับสนุนหรือโต้แย้งกฎหมายหรือคำพิพากษาของศาลอยู่เสมอ ทำให้เกิดหลักการหรือทฤษฎีใหม่ๆที่เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายได้ เช่น แนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ ในประเทศรัสเซีย ฯลฯ
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/knownledgelaw/2007/09/01/entry-2
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
กฎหมายที่ตราโดยองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น
กฎหมายที่ตราโดยองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น
สาระสำคัญของหลักการกระจายอำนาจประการหนึ่งก็คือ
การกระจายอำนาจทางนิติบัญญัติให้องค์กรท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดกฎหมายด้วยตนเอง ในขณะที่กฎหมายลำดับที่
1.1-1.6 นั้นเป็นกฎหมายที่ออกโดยศูนย์กลางอำนาจรัฐ
สำหรับองค์กรท้องถิ่นในประเทศไทย มีอำนาจในการออกกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
ข้อบังคับตำบล*
ข้อบังคับตำบลเป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลตราออกใช้บังคับภายในเขตตำบลโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญ
ัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พุทธศักราช ๒๕๓๗
เทศบัญญัติ*
เทศบัญญัติเป็นกฎหมายซึ่งเทศบาลต่าง ๆ เช่น เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล
ตราออกใช้บังคับภายในเขตเทศบาล โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๙๖
ข้อสังเกต เดิมมีข้อบังคับสุขาภิบาลเป็นกฎหมายที่สุขาภิบาลออกใช้บังคับในเขตสุขาภิบาล
โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พุทธศักราช ๒๔๙๕ แต่อย่างไรก็ดี ต่อมาใน พุทธศักราช ๒๕๔๒
ได้มีการตราพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็น เทศบาล พุทธศักราช ๒๕๔๒
อันมีผลเป็นการยกฐานะของบรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลให้เป็นเทศบาลตำบล
ทั้งนี้เพราะโครงสร้างของการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาลมีโครงสร้างไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติในรั
ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศัก-ราช ๒๕๔๐
ประกอบกับปัจจุบันการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาลไม่เหมาะสมที่จะรองรับการกระจายอำนาจที่เพิ่มขึ
้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสมควรเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลที่มีอยู่เดิมเป็นเทศบาลตำบล
และยกเลิกการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด*
ข้อบัญญัติองค์กรบริหารส่วนจังหวัดเป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
ออกใช้บังคับในเขตจังหวัด โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร*
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายของกรุงเทพมหานครออกใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานคร
โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหา-นคร พุทธศักราช ๒๕๒๘
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา*
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายของเมืองพัทยาออกใช้บังคับในเขตพัทยา
โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พุทธศักราช ๒๕๒๑
อนึ่ง องค์กรปกครองท้องถิ่นนอกจากจะมีอำนาจออกกฎหมายตามพระราชบัญญัติที่จัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นแล้ว
พระราชบัญญัติบางฉบับซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจมีบทบัญญัติที่มอบอำนาจให้องค์กรปกครองส่
วนท้องถิ่นออกกฎหมายที่ใช้บังคับในท้องถิ่นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น พระราชบัญญัติสาธารณสุข พุทธศักราช
๒๔๘๔ บัญญัติให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกกฎหมายใช้ในท้องถิ่นหลายกรณี เช่น
กำหนดให้กิจการค้าใดเป็นกิจการซึ่งเป็นที่รังเกียจ เป็นที่ต้องห้าม เป็นต้น
ที่มา:http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=msulaw&id=233
สาระสำคัญของหลักการกระจายอำนาจประการหนึ่งก็คือ
การกระจายอำนาจทางนิติบัญญัติให้องค์กรท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดกฎหมายด้วยตนเอง ในขณะที่กฎหมายลำดับที่
1.1-1.6 นั้นเป็นกฎหมายที่ออกโดยศูนย์กลางอำนาจรัฐ
สำหรับองค์กรท้องถิ่นในประเทศไทย มีอำนาจในการออกกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
ข้อบังคับตำบล*
ข้อบังคับตำบลเป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลตราออกใช้บังคับภายในเขตตำบลโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญ
ัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พุทธศักราช ๒๕๓๗
เทศบัญญัติ*
เทศบัญญัติเป็นกฎหมายซึ่งเทศบาลต่าง ๆ เช่น เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล
ตราออกใช้บังคับภายในเขตเทศบาล โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๙๖
ข้อสังเกต เดิมมีข้อบังคับสุขาภิบาลเป็นกฎหมายที่สุขาภิบาลออกใช้บังคับในเขตสุขาภิบาล
โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พุทธศักราช ๒๔๙๕ แต่อย่างไรก็ดี ต่อมาใน พุทธศักราช ๒๕๔๒
ได้มีการตราพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็น เทศบาล พุทธศักราช ๒๕๔๒
อันมีผลเป็นการยกฐานะของบรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลให้เป็นเทศบาลตำบล
ทั้งนี้เพราะโครงสร้างของการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาลมีโครงสร้างไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติในรั
ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศัก-ราช ๒๕๔๐
ประกอบกับปัจจุบันการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาลไม่เหมาะสมที่จะรองรับการกระจายอำนาจที่เพิ่มขึ
้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสมควรเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลที่มีอยู่เดิมเป็นเทศบาลตำบล
และยกเลิกการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด*
ข้อบัญญัติองค์กรบริหารส่วนจังหวัดเป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
ออกใช้บังคับในเขตจังหวัด โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร*
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายของกรุงเทพมหานครออกใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานคร
โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหา-นคร พุทธศักราช ๒๕๒๘
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา*
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายของเมืองพัทยาออกใช้บังคับในเขตพัทยา
โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พุทธศักราช ๒๕๒๑
อนึ่ง องค์กรปกครองท้องถิ่นนอกจากจะมีอำนาจออกกฎหมายตามพระราชบัญญัติที่จัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นแล้ว
พระราชบัญญัติบางฉบับซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจมีบทบัญญัติที่มอบอำนาจให้องค์กรปกครองส่
วนท้องถิ่นออกกฎหมายที่ใช้บังคับในท้องถิ่นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น พระราชบัญญัติสาธารณสุข พุทธศักราช
๒๔๘๔ บัญญัติให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกกฎหมายใช้ในท้องถิ่นหลายกรณี เช่น
กำหนดให้กิจการค้าใดเป็นกิจการซึ่งเป็นที่รังเกียจ เป็นที่ต้องห้าม เป็นต้น
ที่มา:http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=msulaw&id=233
กฎกระทรวง
กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายแม่บทออกเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บท
เช่น เรื่องค่าธรรมเนียม เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตต่าง ๆ
เรื่องที่กฎหมายแม่บทกำหนดให้ออกเป็นกฎกระทรวงมักมีความสำคัญน้อยกว่าพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจเสนอร่างกฎกระทรวง
ผู้มีอำนาจเสนอร่างกฎกระทรวงได้แก่ รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายแม่บทซึ่งให้อำนาจออกกฎกระทรวงนั้น ๆ
ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างกฎกระทรวง
ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างกฎกระทรวง ตามธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ (Convention of Constitution)
ของประเทศไทยได้แก่ คณะรัฐมนตรี
แม้พิจารณาตามตัวบทกฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องนำร่างกฎกระทรวงเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
แต่ด้วยหลักที่ว่าด้วยความรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีคนใดจะออกกฎกระทรวงก็ต้องให้คณะรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาเสียก่อน
ผู้มีอำนาจตรากฎกระทรวง
ผู้มีอำนาจตรากฎกระทรวงได้แก่ รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายแม่บทซึ่งให้อำนาจออกกฎกระทรวงนั้น ๆ
การใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ร่างกฎกระทรวงจะใช้บังคับได้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ที่มา: http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=msulaw&id=233
เช่น เรื่องค่าธรรมเนียม เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตต่าง ๆ
เรื่องที่กฎหมายแม่บทกำหนดให้ออกเป็นกฎกระทรวงมักมีความสำคัญน้อยกว่าพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจเสนอร่างกฎกระทรวง
ผู้มีอำนาจเสนอร่างกฎกระทรวงได้แก่ รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายแม่บทซึ่งให้อำนาจออกกฎกระทรวงนั้น ๆ
ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างกฎกระทรวง
ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างกฎกระทรวง ตามธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ (Convention of Constitution)
ของประเทศไทยได้แก่ คณะรัฐมนตรี
แม้พิจารณาตามตัวบทกฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องนำร่างกฎกระทรวงเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
แต่ด้วยหลักที่ว่าด้วยความรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีคนใดจะออกกฎกระทรวงก็ต้องให้คณะรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาเสียก่อน
ผู้มีอำนาจตรากฎกระทรวง
ผู้มีอำนาจตรากฎกระทรวงได้แก่ รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายแม่บทซึ่งให้อำนาจออกกฎกระทรวงนั้น ๆ
การใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ร่างกฎกระทรวงจะใช้บังคับได้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ที่มา: http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=msulaw&id=233
พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดย พระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
ตามรัฐธรรมนูญการตราพระราชกฤษฎีกา จะเกิดขึ้นใน ๓ กรณี คือ
(๑) รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาในกิจการที่สำคัญอันเกี่ยวกับฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น
พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
หรือพระราชกฤษฎีให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๒) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
เป็นการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหาร ไม่ใช้บังคับแก่ประชาชนทั่วไป อนึ่ง
กรณีนี้จะไม่มีบทมาตราใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราช-กฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
(๓) โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแม่บท (พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด)ที่ให้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกาได้ เช่น
พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๒๒ กำหนดว่าการให้ปริญญาใด ๆ
ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรณีนี้กฎหมายแม่บทจะกำหนดแต่หลักสาระสำคัญไว้
ส่วนรายละเอียดให้ออกเป็นพระราชกฤษ-ฎีกา (หรือออกให้เป็นกฎกระทรวง)
เหตุที่กฎหมายแม่บทกำหนดแต่หลักการส่วนรายละเอียดนั้นให้ออกเป็น พระราชกฤษฎีกา (หรือกฎกระทรวง)
ก็เพราะมีเหตุผลอธิบายได้ ๔ ประการ คือ
(๑) ทำให้กฎหมายแม่บทอ่านง่าย เข้าใจง่ายเพราะมีแต่หลักการใหญ่ ๆ อันเป็นสาระสำคัญ
(๒) ประหยัดเวลาของผู้บัญญัติกฎหมายแม่บท ที่จะไม่ต้องเสียเวลาพิจารณา รายละเอียดปลีกย่อย
ซึ่งสมควรมอบหมายความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารไปกำหนดได้เอง
(๓) พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงแก้ไขให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยน-แปลงไปได้ง่ายกว่ากฎหมายแม่บท ทั้งนี้
เพราะกฎหมายแม่บทจะต้องผ่านความเห็นชอบของบุคคลหลายฝ่าย
(๔) ทำให้กฎหมายเหมาะสมกับกาลเวลาอยู่เสมอ เพราะถ้าพฤติการณ์เปลี่ยน-แปลงไป
ก็เป็นแต่แก้ไขพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเท่านั้น ไม่ต้องแก้ไขตัวกฎหมาย แม่บท
สำหรับกระบวนการในการตราพระราชกฤษฎีกานั้นมีสาระสำคัญ และขั้นตอนดังต่อไปนี้
ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ
บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือได้รักษาการตามกฎหมายแม่บทที่บัญญัติให้ออกพระราชกฤษฎีกานั้น ๆ ตัวอย่างเช่น
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พุทธศักราช ๒๕๓๕
ผู้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพราะเป็นผู้รักษาการตาม
พระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจพิจารณาพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ คณะรัฐมนตรี
ผู้มีอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ พระมหากษัตริย์
การใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ร่างพระราชกฤษฎีกาจะใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ต่อเมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ข้อสังเกต โดยทั่วไปการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่หรือรวม โอน กระทรวง ทบวง กรม
จะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ แต่ด้วยรัฐธรรมนูญใหม่มีเจตนารมณ์ที่จะให้รัฐบาลตั้งกระทรวง ทบวง กรม
หรือโอนหรือยุบกระทรวง ทบวง กรมได้ง่ายขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้ทันการณ์
ตามรัฐธรรมนูญการตราพระราชกฤษฎีกา จะเกิดขึ้นใน ๓ กรณี คือ
(๑) รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาในกิจการที่สำคัญอันเกี่ยวกับฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น
พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
หรือพระราชกฤษฎีให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๒) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
เป็นการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหาร ไม่ใช้บังคับแก่ประชาชนทั่วไป อนึ่ง
กรณีนี้จะไม่มีบทมาตราใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราช-กฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
(๓) โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแม่บท (พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด)ที่ให้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกาได้ เช่น
พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๒๒ กำหนดว่าการให้ปริญญาใด ๆ
ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรณีนี้กฎหมายแม่บทจะกำหนดแต่หลักสาระสำคัญไว้
ส่วนรายละเอียดให้ออกเป็นพระราชกฤษ-ฎีกา (หรือออกให้เป็นกฎกระทรวง)
เหตุที่กฎหมายแม่บทกำหนดแต่หลักการส่วนรายละเอียดนั้นให้ออกเป็น พระราชกฤษฎีกา (หรือกฎกระทรวง)
ก็เพราะมีเหตุผลอธิบายได้ ๔ ประการ คือ
(๑) ทำให้กฎหมายแม่บทอ่านง่าย เข้าใจง่ายเพราะมีแต่หลักการใหญ่ ๆ อันเป็นสาระสำคัญ
(๒) ประหยัดเวลาของผู้บัญญัติกฎหมายแม่บท ที่จะไม่ต้องเสียเวลาพิจารณา รายละเอียดปลีกย่อย
ซึ่งสมควรมอบหมายความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารไปกำหนดได้เอง
(๓) พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงแก้ไขให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยน-แปลงไปได้ง่ายกว่ากฎหมายแม่บท ทั้งนี้
เพราะกฎหมายแม่บทจะต้องผ่านความเห็นชอบของบุคคลหลายฝ่าย
(๔) ทำให้กฎหมายเหมาะสมกับกาลเวลาอยู่เสมอ เพราะถ้าพฤติการณ์เปลี่ยน-แปลงไป
ก็เป็นแต่แก้ไขพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเท่านั้น ไม่ต้องแก้ไขตัวกฎหมาย แม่บท
สำหรับกระบวนการในการตราพระราชกฤษฎีกานั้นมีสาระสำคัญ และขั้นตอนดังต่อไปนี้
ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ
บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือได้รักษาการตามกฎหมายแม่บทที่บัญญัติให้ออกพระราชกฤษฎีกานั้น ๆ ตัวอย่างเช่น
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พุทธศักราช ๒๕๓๕
ผู้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพราะเป็นผู้รักษาการตาม
พระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจพิจารณาพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ คณะรัฐมนตรี
ผู้มีอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ พระมหากษัตริย์
การใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ร่างพระราชกฤษฎีกาจะใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ต่อเมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ข้อสังเกต โดยทั่วไปการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่หรือรวม โอน กระทรวง ทบวง กรม
จะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ แต่ด้วยรัฐธรรมนูญใหม่มีเจตนารมณ์ที่จะให้รัฐบาลตั้งกระทรวง ทบวง กรม
หรือโอนหรือยุบกระทรวง ทบวง กรมได้ง่ายขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้ทันการณ์
พระราชกำหนด
พระราชกำหนด หรือรัฐกำหนด (อังกฤษ: emergency decree ใช้ได้ทั้งพระราชกำหนดและรัฐกำหนด; หรือ royal ordinance สำหรับพระราชกำหนด) เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
พระราชกำหนดของไทยแบ่งออกเป็นสองประเภทตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) ได้แก่
1. พระราชกำหนดทั่วไป ออกได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลดภัยของประเทศ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องปัดพิบัติสาธารณะ
2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ออกได้ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งต้องได้รับพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ทั้งนี้ ภายในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาเท่านั้น
กระบวนการตราพระราชกำหนด
พระราชกำหนดมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาร่าง และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงจะนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับเช่นพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องนำเสนอร่างพระราชกำหนด เช่นว่าให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
กระบวนการภายหลังการประกาศใช้พระราชกำหนด
เมื่อมีการประกาศใช้พระราชกำหนดแล้ว ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป คณะรัฐมนตรีต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า
ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดโดยเร็ว
ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ พระราชกำหนดดังกล่าว หรือในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติ และสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร พระราชกำหนดนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้นแล้ว
ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/publicpolicy-in-thailand/2009/04/13/entry-1
พระราชกำหนดของไทยแบ่งออกเป็นสองประเภทตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) ได้แก่
1. พระราชกำหนดทั่วไป ออกได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลดภัยของประเทศ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องปัดพิบัติสาธารณะ
2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ออกได้ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งต้องได้รับพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ทั้งนี้ ภายในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาเท่านั้น
กระบวนการตราพระราชกำหนด
พระราชกำหนดมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาร่าง และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงจะนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับเช่นพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องนำเสนอร่างพระราชกำหนด เช่นว่าให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
กระบวนการภายหลังการประกาศใช้พระราชกำหนด
เมื่อมีการประกาศใช้พระราชกำหนดแล้ว ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป คณะรัฐมนตรีต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า
ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดโดยเร็ว
ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ พระราชกำหนดดังกล่าว หรือในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติ และสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร พระราชกำหนดนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้นแล้ว
ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/publicpolicy-in-thailand/2009/04/13/entry-1
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ act;Act of Parliament
คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
สำหรับกระบวนการในการตราพระราชบัญญัตินั้น มีสาระสำคัญและขั้นตอนดังต่อไปนี้
ร่างพระราชบัญญัติ มี 2 ประเภท คือ ร่างพระราชบัญญัติทั่วไป และร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ กระทำได้ 3 ทางคือ
(1) โดยคณะรัฐมนตรี
(2) โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งต้องให้พรรคการเมือง ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดนั้นมีมติให้เสนอให้ และต้องมีสมาชิดสภาผู้แทนราษฎร ไม่น้อยกว่า 20 คนรับรอง แต่ถ้าเป็นร่าง พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ ต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
(3) โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คนเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ที่มา:http://www.thethailaw.com/law23/law23.html
คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
สำหรับกระบวนการในการตราพระราชบัญญัตินั้น มีสาระสำคัญและขั้นตอนดังต่อไปนี้
ร่างพระราชบัญญัติ มี 2 ประเภท คือ ร่างพระราชบัญญัติทั่วไป และร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ กระทำได้ 3 ทางคือ
(1) โดยคณะรัฐมนตรี
(2) โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งต้องให้พรรคการเมือง ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดนั้นมีมติให้เสนอให้ และต้องมีสมาชิดสภาผู้แทนราษฎร ไม่น้อยกว่า 20 คนรับรอง แต่ถ้าเป็นร่าง พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ ต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
(3) โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คนเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ที่มา:http://www.thethailaw.com/law23/law23.html
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญให้มีความยาวมากเกินไป และเพื่อที่จะได้สะดวกแก่การแก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรรูปแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ หรือข้อบังคับต่างๆ แต่ที่ต่างกันอยู่ที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่กำหนดกฎเกณฑ์พื้นฐานในการปกครองประเทศว่าใครเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดของประเทศ และอำนาจนั้นใช้อย่างไร ใช้ในรูปแบบใด และใช้โดยองค์กรใด ตัวอย่างของประเทศไทย ตามธรรมเนียมรัฐธรรมนูญไทยนั้นประชาชนไทยทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยร่วมกันและมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ศูนย์รวมคนไทยทั้งชาติทรงใช้อำนาจนี้ผ่านองค์กรต่างๆ อันได้แก่ รัฐสภาในการออกกฎหมาย คณะรัฐมนตรีในการบังคับใช้กฎหมายโดยการบริหารงานแผ่นดิน และศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามกฎหมาย โดยรัฐธรรมนูญจะกำหนดความสัมพันธ์ที่องค์กรต่างๆ เหล่านั้นมีต่อกันและกัน เช่น รัฐสภาควบคุมการบริหารงานของคณะรัฐมนตรีได้ ตั้งกระทู้ถามได้ อภิปรายรัฐมนตรีได้ เป็นต้น
ที่มา:http://www.legaltolaw.com/index.php?option=com_content&view=section&id=13&Itemid=377
ที่มา:http://www.legaltolaw.com/index.php?option=com_content&view=section&id=13&Itemid=377
ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย เป็นแนวความคิดทางกฎหมายของฝรั่งเศส ซึ่งกำหนดลำดับชั้นระหว่างกฎหมายประเภทต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจในการตรากฎหมายที่มีศักดิ์ด้อยกว่าต้องเคารพและไม่สามารถตรากฎหมายที่ละเมิดกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าได้
กฎหมายไทยได้นำเอาหลักดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ อาทิ พระราชบัญญัติจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีศักดิ์สูงกว่า ไม่ได้ หรือ พระราชบัญญัติจะต้องไม่มีเนื้อหาขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ดังที่ มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
องค์กรหลักตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ดูแลความสอดคล้องของกฎหมายต่างๆ ต่อกฎหมายสูงสุดหรือรัฐธรรมนูญ คือศาลรัฐธรรมนูญ
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
1. รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3. พระราชบัญญัติ
4. พระราชกำหนด
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2
กฎหมายไทยได้นำเอาหลักดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ อาทิ พระราชบัญญัติจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีศักดิ์สูงกว่า ไม่ได้ หรือ พระราชบัญญัติจะต้องไม่มีเนื้อหาขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ดังที่ มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
องค์กรหลักตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ดูแลความสอดคล้องของกฎหมายต่างๆ ต่อกฎหมายสูงสุดหรือรัฐธรรมนูญ คือศาลรัฐธรรมนูญ
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
1. รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3. พระราชบัญญัติ
4. พระราชกำหนด
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ระบบของกฎหมาย
ระบบของกฎหมาย (Legal System)
ระบบของกฎหมาย หรือตำราบางเล่มเรียกว่า สกุลของกฎหมาย (Legal Famly) เป็นความพยายามของนักกฎหมาย ที่จะจับกลุ่มของกฎหมายที่มีใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ระบบกฎหมายอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ
1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) นักกฎหมายบางท่านเรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) หรือสกุลโรมาโน เยอรมานิค ( Romano Germanic) กฎหมายระบบนี้กำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายโรมัน โดยเฉพาะอิตาลีกับเยอรมันซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโรมัน ถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนากฎหมายระบบนี้ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ คำพิพากษาของศาลไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐาน แบบอย่างในการตีความกฎหมาย ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย
2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law) ตำราบางเล่มเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี กำเนิดขึ้นในประเทศอังกฤษ กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับจารีตประเพณี โดยใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อตัดสินชี้ขาดแล้วก็กลายเป็นหลักการ เมื่อมีคดีความที่มีลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นก็ต้องใช้หลักของคดีแรกเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินชี้ขาด ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ
3. ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม (Socialist Law) เกิดขึ้นและใช้อยู่ในสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศบริวาร เกิดจากความต้องการของนักกฎหมายของประเทศสังคมนิยม ตามปรัชญาของลักทธิมาร์กซ์ ซึ่งความจริงก็คือกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเอง แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันก็คือ กฎหมายระบบนี้ต้องการสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคม ให้ความสำคัญเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยรัฐมีอำนาจเข้าไปจัดการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของประชาชนได้ และรัฐเป็นผู้จัดสวัสดิการให้ ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น
4. ระบบกฎหมายศาสนา (Religon Law) เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่ใช้หลักทางศาสนาเป็นแม่บทในการปกครอง เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามซึ่งใช้อยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ ข้อบัญญัติศาสนา การพิจารณาตัดสินคดีความก็จะใช้กฎแห่งศาสนาเป็นหลัก
ที่มา:http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-General.htm
ระบบของกฎหมาย หรือตำราบางเล่มเรียกว่า สกุลของกฎหมาย (Legal Famly) เป็นความพยายามของนักกฎหมาย ที่จะจับกลุ่มของกฎหมายที่มีใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ระบบกฎหมายอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ
1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) นักกฎหมายบางท่านเรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) หรือสกุลโรมาโน เยอรมานิค ( Romano Germanic) กฎหมายระบบนี้กำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายโรมัน โดยเฉพาะอิตาลีกับเยอรมันซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโรมัน ถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนากฎหมายระบบนี้ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ คำพิพากษาของศาลไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐาน แบบอย่างในการตีความกฎหมาย ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย
2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law) ตำราบางเล่มเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี กำเนิดขึ้นในประเทศอังกฤษ กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับจารีตประเพณี โดยใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อตัดสินชี้ขาดแล้วก็กลายเป็นหลักการ เมื่อมีคดีความที่มีลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นก็ต้องใช้หลักของคดีแรกเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินชี้ขาด ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ
3. ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม (Socialist Law) เกิดขึ้นและใช้อยู่ในสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศบริวาร เกิดจากความต้องการของนักกฎหมายของประเทศสังคมนิยม ตามปรัชญาของลักทธิมาร์กซ์ ซึ่งความจริงก็คือกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเอง แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันก็คือ กฎหมายระบบนี้ต้องการสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคม ให้ความสำคัญเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยรัฐมีอำนาจเข้าไปจัดการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของประชาชนได้ และรัฐเป็นผู้จัดสวัสดิการให้ ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น
4. ระบบกฎหมายศาสนา (Religon Law) เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่ใช้หลักทางศาสนาเป็นแม่บทในการปกครอง เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามซึ่งใช้อยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ ข้อบัญญัติศาสนา การพิจารณาตัดสินคดีความก็จะใช้กฎแห่งศาสนาเป็นหลัก
ที่มา:http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-General.htm
กฎหมายในสังคม
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่คนเดียวได้ จึงต้องรวมกันอยู่เป็นหมู่เป็นพวก เป็นกลุ่มเป็นก้อน เริ่มจากสังคมเล็ก ๆ ระดับครอบครัว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีจำนวนมากขึ้นก็รวมกันเป็นเผ่าเป็นกลุ่มชนและสุดท้ายเผ่าที่มีสายพันธุ์เดียวกันก็รวมเข้าด้วยกันกลายเป็นกลุ่มชนใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นรัฐ เป็นประเทศ การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จำเป็นที่ต้องมีการติดต่อกัน เพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิต บางครั้งมนุษย์ก็มีความต้องการที่จะทำอะไร ๆ ตามใจตนเองบ้าง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ จนเกิดความขัดแย้งวุ่นวายขึ้นมาได้ มนุษย์จึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน เพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุข กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกว่า บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) ประกอบด้วย
1. วิถีชาวบ้าน (Folkways) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่อยู่ในรูปของประเพณีนิยม ที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติสืบต่อกันมา ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกติฉินนินทาว่าร้าย เช่น การแต่งกาย กิริยามารยาททางสังคมในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
2. จารีต (Mores) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่ยึดหลักความดีความชั่ว กฎเกณฑ์ทางศาสนา เป็นเรื่องของความรู้สึกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก หากใครละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง อาจถูกกีดกันออกจากสังคม หรือไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย เช่น การลักเล็กขโมยน้อย การเนรคุณบิดามารดา หรือผู้มีพระคุณ เป็นต้น
3. กฎหมาย (Laws) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจน แน่นอน ว่ากระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานใด จะได้รับอย่างไร เช่น ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษประหารชีวิต เป็นต้น
กฎเกณฑ์ของความประพฤติทั้งสามประการดังกล่าว สองประการแรกไม่ได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจน การลงโทษผู้ละเมิดฝ่าฝืนก็ไม่รุนแรง ประการที่สาม กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ใช้ได้ผลมากที่สุด ในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ ดังนั้นสังคมมนุษย์ทุกสังคมจึงจำเป็นต้องมีกฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันดังคำกล่าวที่ว่า “ที่ใดมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย”
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
ลักษณะของกฎหมาย
การปกครองประเทศให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุขนั้น รัฐจำเป็นจะต้องออกคำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ มากมาย คำสั่ง ข้อบังคับเหล่านั้นมิได้เป็นกฎหมายทุกฉบับ คำสั่ง ข้อบังคับของรัฐที่จะถือว่าเป็นกฎหมายได้นั้น ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1. มาจากรัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า ผู้ที่จะออกกฎหมายได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ซึ่งจะเป็นใครนั้นต้องแล้วแต่สถานการณ์หรือรูปแบบการปกครองประเทศไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง และการออกกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว ปัจจุบันเราใช้การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจอธิปไตยซึ่งเห็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของปวงชนชาวไทย และบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจในการออกกฎหมายโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ในสถานการณ์ที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศ หัวหน้าคณะปฏิวัติก็มีอำนาจออกกฎหมายได้เพราะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ยังมีประกาศคณะปฏิวัติหลายฉบับที่ยังบังคับใช้เป็นกฎหมายอยู่
2. เป็นคำสั่ง ข้อห้าม ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม หมายความว่า กฎหมายไม่ใช่คำขอร้อง หรือแถลงการณ์ เมื่อประกาศใช้แล้วประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถึงแม้ว่าจะขัดต่อผลประโยชน์หรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องยอมรับจะปฏิเสธไม่ได้ เช่น กฎหมายบังคับให้เสียภาษี บังคับให้ต้องรับราชการทหาร เป็นต้น
3. ใช้ได้ทั่วไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้กับประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง คนรวย คนจน ข้าราชการ แม้แต่พระมหากษัตริย์หรือเชื้อพระราชวงศ์ก็ตาม และใช้ได้ทั่วไปทุกพื้นที่ในอาณาเขตประเทศไทย
4. ใช้ได้เสมอไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้ตลอดไป ไม่ว่าจะเก่าแก่ ล้าสมัย หรือนานเท่าใดก็ตาม จนกว่าจะมีการยกเลิก
5. มีสภาพบังคับ หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ หรือตกอยู่ในสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ อาจจะหนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่ความผิดในกฎหมายอาญา สภาพบังคับเรียกว่าโทษ มีอยู่ 5 ประการ คือประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์ ในกฎหมายแพ่ง สภาพบังคับขึ้นอยู่กับการกระทำความผิด เช่น บังคับให้ชำระหนี้ ชดใช้ค่าเสียหาย หรือเสียดอกเบี้ย เป็นต้น นอกจากนี้ในกฎหมายอื่น ๆ ก็อาจมีสภาพบังคับอื่น ๆ อีกก็ได้ เช่น ข้าราชการที่ทำผิดวินัย อาจถูกตัดเงินเดือน สั่งพักราชการ ให้ออกปลดออกหรือไล่ออก เป็นต้น
ที่มา: http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-General.htm
1. วิถีชาวบ้าน (Folkways) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่อยู่ในรูปของประเพณีนิยม ที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติสืบต่อกันมา ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกติฉินนินทาว่าร้าย เช่น การแต่งกาย กิริยามารยาททางสังคมในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
2. จารีต (Mores) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่ยึดหลักความดีความชั่ว กฎเกณฑ์ทางศาสนา เป็นเรื่องของความรู้สึกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก หากใครละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง อาจถูกกีดกันออกจากสังคม หรือไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย เช่น การลักเล็กขโมยน้อย การเนรคุณบิดามารดา หรือผู้มีพระคุณ เป็นต้น
3. กฎหมาย (Laws) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจน แน่นอน ว่ากระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานใด จะได้รับอย่างไร เช่น ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษประหารชีวิต เป็นต้น
กฎเกณฑ์ของความประพฤติทั้งสามประการดังกล่าว สองประการแรกไม่ได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจน การลงโทษผู้ละเมิดฝ่าฝืนก็ไม่รุนแรง ประการที่สาม กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ใช้ได้ผลมากที่สุด ในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ ดังนั้นสังคมมนุษย์ทุกสังคมจึงจำเป็นต้องมีกฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันดังคำกล่าวที่ว่า “ที่ใดมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย”
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
ลักษณะของกฎหมาย
การปกครองประเทศให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุขนั้น รัฐจำเป็นจะต้องออกคำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ มากมาย คำสั่ง ข้อบังคับเหล่านั้นมิได้เป็นกฎหมายทุกฉบับ คำสั่ง ข้อบังคับของรัฐที่จะถือว่าเป็นกฎหมายได้นั้น ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1. มาจากรัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า ผู้ที่จะออกกฎหมายได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ซึ่งจะเป็นใครนั้นต้องแล้วแต่สถานการณ์หรือรูปแบบการปกครองประเทศไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง และการออกกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว ปัจจุบันเราใช้การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจอธิปไตยซึ่งเห็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของปวงชนชาวไทย และบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจในการออกกฎหมายโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ในสถานการณ์ที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศ หัวหน้าคณะปฏิวัติก็มีอำนาจออกกฎหมายได้เพราะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ยังมีประกาศคณะปฏิวัติหลายฉบับที่ยังบังคับใช้เป็นกฎหมายอยู่
2. เป็นคำสั่ง ข้อห้าม ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม หมายความว่า กฎหมายไม่ใช่คำขอร้อง หรือแถลงการณ์ เมื่อประกาศใช้แล้วประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถึงแม้ว่าจะขัดต่อผลประโยชน์หรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องยอมรับจะปฏิเสธไม่ได้ เช่น กฎหมายบังคับให้เสียภาษี บังคับให้ต้องรับราชการทหาร เป็นต้น
3. ใช้ได้ทั่วไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้กับประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง คนรวย คนจน ข้าราชการ แม้แต่พระมหากษัตริย์หรือเชื้อพระราชวงศ์ก็ตาม และใช้ได้ทั่วไปทุกพื้นที่ในอาณาเขตประเทศไทย
4. ใช้ได้เสมอไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้ตลอดไป ไม่ว่าจะเก่าแก่ ล้าสมัย หรือนานเท่าใดก็ตาม จนกว่าจะมีการยกเลิก
5. มีสภาพบังคับ หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ หรือตกอยู่ในสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ อาจจะหนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่ความผิดในกฎหมายอาญา สภาพบังคับเรียกว่าโทษ มีอยู่ 5 ประการ คือประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์ ในกฎหมายแพ่ง สภาพบังคับขึ้นอยู่กับการกระทำความผิด เช่น บังคับให้ชำระหนี้ ชดใช้ค่าเสียหาย หรือเสียดอกเบี้ย เป็นต้น นอกจากนี้ในกฎหมายอื่น ๆ ก็อาจมีสภาพบังคับอื่น ๆ อีกก็ได้ เช่น ข้าราชการที่ทำผิดวินัย อาจถูกตัดเงินเดือน สั่งพักราชการ ให้ออกปลดออกหรือไล่ออก เป็นต้น
ที่มา: http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-General.htm
การจัดระเบียบทางสังคม
ความหมายของการจัดระเบียบสังคม
การจัดระเบียบสังคม เป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยมีสมาชิกส่วนรวมของสังคมไทยยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกันและสืบทอดจนเป็นบรรทัดฐานในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม
สาเหตุที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม
1. สมาชิกในสังคมมีความแตกต่างกัน
2. แต่ละคนมุ่งแต่ผลประโยชน์ของตน จนเกิดความขัดแย้งได้
ความจำเป็นที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม
1. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีความแตกต่าง ทั้งในทางกายภาพและในทางสังคม
2. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีวัตถุประสงค์และมีความต้องการร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุกๆ สังคมสมาชิกแต่ละคนย่อมมีความต้องการพื้นฐานร่วมกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และความต้องการนั้น
3. เพื่อป้องการขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การต่อสู้ การใช้อำนาจ ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อให้ความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมราบรื่น
วิธีการจัดระเบียบทางสังคม
1. บรรทัดฐาน
2. สถานภาพ – บทบาท และการจัดชั้นยศ
3. ค่านิยม
4. การขัดเกลาทางสังคม
5. การควบคุมทางสังคม
องค์ประกอบของการจัดระเบียบ
บรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับเป็นแนวทางให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ สรุปได้ว่า...
1. บรรทัดฐานทางสังคม เป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมยอมรับร่วมกัน และได้ประพฤติสืบต่อกันมา
2. บรรทัดฐานทางสังคมเป็นระเบียบ กล่าวคือ แบบแผนความประพฤติที่เห็นว่าถูกต้องในสถานการณ์หนึ่งอาจนำไปใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่งไม่ได้
ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม
1. วิถีประชา/วิถีชาวบ้าน (Folkways) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติด้วยความเคยชิน เนื่องจากได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดมาตั้งแต่วัยเด็กจนเติบใหญ่ แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนอย่างเข้มงวด แต่อาจถูกคนอื่นเยาะเย้ย ถากถาง หรือได้รับการนินทา ทำให้สมาชิกต้องปฏิบัติตามวิถีชาวบ้าน จนเกิดความเป็นระเบียบทางสังคมในที่สุด
2. จารีต (Mores) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบสัมพันธ์ของสมาชิกเป็นส่วนรวม
3. กฎหมาย (Laws) หมายถึง กฎเกณฑ์ของความประพฤติซึ่งสร้างขึ้นโดยองค์การทางการเมืองการปกครอง และโดยได้รับการรับรองจากองค์กรของรัฐ
กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1) เป็นกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมที่บัญญัติเป็นทางการโดยองค์การของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย
2) มีการประกาศรายละเอียดของกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
3) มีองค์การที่หน้าที่ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมาย
4) มีบทลงโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย
ข้อสังเกตเกี่ยวกับบรรทัดฐาน
1. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสอดคล้องหรือแตกต่างก็ได้
2. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสามารถเปลี่ยนแปลงได้
3. สังคมชนบทมักใช้จารีตมากกว่า ส่วนสังคมเมืองมักใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐาน
การจัดระเบียบสังคม เป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยมีสมาชิกส่วนรวมของสังคมไทยยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกันและสืบทอดจนเป็นบรรทัดฐานในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม
สาเหตุที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม
1. สมาชิกในสังคมมีความแตกต่างกัน
2. แต่ละคนมุ่งแต่ผลประโยชน์ของตน จนเกิดความขัดแย้งได้
ความจำเป็นที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม
1. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีความแตกต่าง ทั้งในทางกายภาพและในทางสังคม
2. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีวัตถุประสงค์และมีความต้องการร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุกๆ สังคมสมาชิกแต่ละคนย่อมมีความต้องการพื้นฐานร่วมกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และความต้องการนั้น
3. เพื่อป้องการขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การต่อสู้ การใช้อำนาจ ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อให้ความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมราบรื่น
วิธีการจัดระเบียบทางสังคม
1. บรรทัดฐาน
2. สถานภาพ – บทบาท และการจัดชั้นยศ
3. ค่านิยม
4. การขัดเกลาทางสังคม
5. การควบคุมทางสังคม
องค์ประกอบของการจัดระเบียบ
บรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับเป็นแนวทางให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ สรุปได้ว่า...
1. บรรทัดฐานทางสังคม เป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมยอมรับร่วมกัน และได้ประพฤติสืบต่อกันมา
2. บรรทัดฐานทางสังคมเป็นระเบียบ กล่าวคือ แบบแผนความประพฤติที่เห็นว่าถูกต้องในสถานการณ์หนึ่งอาจนำไปใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่งไม่ได้
ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม
1. วิถีประชา/วิถีชาวบ้าน (Folkways) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติด้วยความเคยชิน เนื่องจากได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดมาตั้งแต่วัยเด็กจนเติบใหญ่ แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนอย่างเข้มงวด แต่อาจถูกคนอื่นเยาะเย้ย ถากถาง หรือได้รับการนินทา ทำให้สมาชิกต้องปฏิบัติตามวิถีชาวบ้าน จนเกิดความเป็นระเบียบทางสังคมในที่สุด
2. จารีต (Mores) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบสัมพันธ์ของสมาชิกเป็นส่วนรวม
3. กฎหมาย (Laws) หมายถึง กฎเกณฑ์ของความประพฤติซึ่งสร้างขึ้นโดยองค์การทางการเมืองการปกครอง และโดยได้รับการรับรองจากองค์กรของรัฐ
กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1) เป็นกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมที่บัญญัติเป็นทางการโดยองค์การของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย
2) มีการประกาศรายละเอียดของกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
3) มีองค์การที่หน้าที่ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมาย
4) มีบทลงโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย
ข้อสังเกตเกี่ยวกับบรรทัดฐาน
1. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสอดคล้องหรือแตกต่างก็ได้
2. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสามารถเปลี่ยนแปลงได้
3. สังคมชนบทมักใช้จารีตมากกว่า ส่วนสังคมเมืองมักใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐาน
โครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุก ๆ สังคม แม้ว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตาม
ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
โดยทั่วไปโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไป มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. มีการรวมกลุ่มของคนในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่มที่รวมกันต่างมีหน้าที่รับผิดชอบและประสิทธิภาพในการ ทำงานตามที่กลุ่มได้กำหนดเป้าหมายไว้
2. มีแนวทางในการปฏิบัติอย่างเหมาะสมหรือมีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนเป็นแนวทางให้ยึดถือร่วมกัน โดยยึดหลักประโยชน์สูงสุดของสังคม
3. มีจุดหมายในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดีและมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับสังคมนั้น
4. มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือ โครงสร้างของสังคมจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ในหลายรูปแบบเช่นจำนวนคนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการเคลื่อนย้ายประชากรในสังคม หรือ รูปแบบของความสัมพันธ์ของบุคคลภายในสังคมอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานภาพที่ปรับเปลี่ยนไปหรือแม้แต่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในสังคม เป็นต้น
ที่มา: http://nucha.chs.ac.th/1.2.htm
ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
โดยทั่วไปโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไป มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. มีการรวมกลุ่มของคนในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่มที่รวมกันต่างมีหน้าที่รับผิดชอบและประสิทธิภาพในการ ทำงานตามที่กลุ่มได้กำหนดเป้าหมายไว้
2. มีแนวทางในการปฏิบัติอย่างเหมาะสมหรือมีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนเป็นแนวทางให้ยึดถือร่วมกัน โดยยึดหลักประโยชน์สูงสุดของสังคม
3. มีจุดหมายในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดีและมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับสังคมนั้น
4. มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือ โครงสร้างของสังคมจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ในหลายรูปแบบเช่นจำนวนคนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการเคลื่อนย้ายประชากรในสังคม หรือ รูปแบบของความสัมพันธ์ของบุคคลภายในสังคมอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานภาพที่ปรับเปลี่ยนไปหรือแม้แต่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในสังคม เป็นต้น
ที่มา: http://nucha.chs.ac.th/1.2.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)